วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556
จับตา " วิชา มหาคุณ " ปปช. โผล่ สุพรรณบุรี ก่อนสรรหา ปปช.สุพรรณ
นายวิชา มหาคุณ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ปปช. มีกำหนดการเดินทางมาดูความเรียบร้อย ในกระบวนการสรรหา คณะกรรมการสรรหากรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประจำจังหวัด หรือ ป.ป.จ. ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 20 เมษายน 2556 นี้ โดยคณะกรรมการสรรหา ป.ป.จ.จะมีบทบาทหน้าที่ ในการสรรหากรรมการ ป.ป.จ. ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ต่อไป นายวิชา มหาคุณ จะเดินทางมาที่ สนง.ป.ป.จ. สุพรรณบุรี ในวันพุธ ที่ 17 เมษายน 2556 เวลา 11.00 -12.00 น. เพื่อตรวจเยี่ยม ร่วมประชุม รับฟังการเตรียมความพร้อม ในการสรรหา คณะกรรมการสรรหา ป.ป.จ. ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ฯลฯ
นายสมพล กาญจนโสภณ รกท.ผอ.สำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี เปิดเผย จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นจังหวัดหนึ่ง ที่ได้รับการจับตามอง เพราะเคยได้รับการขนานนามให้เป็นจังหวัดที่อยุ่ดีมีสุข เป็นที่ 1 ของประเทศไทย ความเจริญรุ่งเรืองในโครงสร้างพื้นฐานก็ไม่เป็นสองรองใคร มีผู้ใหญ่ในพื้นที่ คอยดูแลเอาใจใส่ ปัจจุบันมีแหล่งท่องเที่ยว ที่น่าสนใจ ได้แก่ สวนเฉลิมภัทรราชินี หรือ หอคอยบรรหาร แจ่มใส ตลาดร้อยปีสามชุก บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติฯ และ ใหม่ล่าสุด พื้นที่พิเศษเพื่อการาท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เมืองโบราณอู่ทอง ในส่วนของการทุจริตคอรัปชั่น ส่วนใหญ่ยังไม่มีอะไร ที่เด่นชัด พบเรื่องร้องเรียนในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ ส่วนราชการ บ้าง แต่ก็ยังมีไม่มากนัก อาจเนื่องจาก เพิ่งจะมาเปิดสำนักงาน และ ยังไม่ค่อยได้ทำงานร่วมกับสื่อมวลชนมากนักจึงยังไม่ค่อยได้รับข้อมูล ด้านทุจริตคอรัปชั่น ในพื้นที่
สำหรับสาระสำคัญๆ ที่ทาง ปปช. สุพรรณบุรี จะนำเรียน จะเป็นประเด็น ของ ทำไมถึงต้องมี คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด ( คณะกรรมการ ป.ป.จ.) คณะกรรมการ ป.ป.จ. ประกอบด้วยใครบ้าง คณะกรรมการ ป.ป.จ.มีบทบาทหน้าที่อะไร หน่วยงานหรือองค์กรที่ประสงค์จะส่งผู้แทนของหน่วยงานหรือองค์กร จะต้องมาขึ้นทะเบียนเมื่อไร ผู้ที่ประสงค์จะสมัครเข้ามาเป็น กรรมการ ป.ป.จ.จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง จังหวัดสุพรรณบุรี มีกรรมการ ป.ป.จ. ได้กี่คน กรรมการ ป.ป.จ.มีบทบาทหน้าที่อะไร กรรมการ ป.ป.จ.มีวาระการดำรงค์ตำแหน่งกี่ปี ได้กี่วาระ กรรมการ ป.ป.จ.ไดรับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง เริ่มเปิดรับสมัครผู้ประสงค์จะเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการ ป.ป.จ.วันที่เท่าไร ซึ่งคำตอบเหล่านี้ เราจะมีให้ในวันที่ 17 เมษายน 2556 นี้
ด้านนางสาววรรณภา เวทย์ธัญญาภรณ์ หรือ คุณอ้อ เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตปฏิบัติการ ทำหน้าที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ องค์กร เปิดเผยว่า ทางสำนักงาน กำลังจัดทำเว็บไซต์ และ FaceBook ของสำนักงาน เพื่อการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์งานของสำนักงาน ปปช. สุพรรณบุรี แก่ประชาชน โดยทั่วไป และ จะทำการเชื่อมโยงข้อมูลกับ สื่อมวลชน ในพื้นที่ เพื่อจะได้ทันต่อเหตุการณ์ และสถานการณ์ข่าว ได้มากยิ่งขึ้น
เรวัติ น้อยวิจิตร สุพรรณอินชัวร์ดอทคอม rewat.noyvijit@hotmail.com 081-9107445
ป.ป.ช.สุพรรณดีเดย์กระบวนการสรรหากรรมการ ป.ป.จ. 20 เมษายน 2556 นี้
http://w7.thaiwebwizard.com/member/suphaninsure/wizContent.asp?wizConID=61482&txtmMenu_ID=7
ประวัติ นายวิชา มหาคุณ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ
กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 8 มีนาคม พ.ศ. 2489 (67 ปี)
ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ (เกิด 8 มีนาคม พ.ศ. 2489) กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) อดีตประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา
เนื้อหา
[ซ่อน]
1 การศึกษา
2 การทำงาน
3 เครื่องราชอิสริยาภรณ์
4 อ้างอิง
[แก้] การศึกษา
นายวิชา จบการศึกษาปริญญาตรีและโท จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนติบัณฑิตไทย ปริญญาโทรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาบัตรการป้องกันราชอาณาจักรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่41ประกาศนียบัตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 11 (สถาบันพระปกเกล้า) นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษ แห่ง คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยได้รับทุน จากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ให้ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง "การเผยแพร่ความรู้กฎหมายไปสู่ชนบท"ณ ศูนย์ศึกษาเมืองเบลลาจิโอ ประเทศอิตาลี กับได้รับทุนจากองค์การอนุเคราะห์เด็กแห่งนอรเวย์ ให้ศึกษาวิจัยเรื่อง "การทารุณกรรมเด็ก" รวมทั้งได้รับทุนฝึกอบรมด้านบำบัดผู้ติดยาเสพติด ณ นครนิวยอร์ก จากองค์การเดท็อป แห่ง สหรัฐอเมริกา และผ่านการศึกษาหลักสูตร Cambridge-Thammasat Executive Education Programme ณ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ
[แก้] การทำงาน
นายวิชา เริ่มรับราชการครั้งแรกในตำแหน่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ต่อมาได้โอนไปรับราชการเป็น พนักงานอัยการ ตำแหน่งสุดท้ายก่อนไปเป็นตุลาการ คือ อัยการจังหวัดผู้ช่วยจังหวัดกำแพงเพชร ส่วนตำแหน่งในทางตุลาการเคยดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลจังหวัดแพร่ ผู้พิพากษาประจำกระทรวงช่วยทำงานทำเนียบนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่เลขานุการส่วนตัวนายกรัฐมนตรี (นายธานินทร์ กรัยวิเชียร) ผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดอุบลราชธานี ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดอุบลราชธานี เลขานุการศาลฎีกา ขณะดำรงตำแหน่งเลขานุการศาลฎีกาได้ถูกคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมให้ออกจากราชการ เมื่อ พ.ศ. 2535 ด้วยข้อหาขัดคำสั่งรัฐมนตรี เมื่อครั้งเกิดกรณี "วิกฤตตุลาการ" แต่ได้ทูลเกล้าถวายฎีกาคัดค้านคำสั่งดังกล่าว ในที่สุดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโดยมีพระราชกระแสว่า ไม่สมควรออกจากราชการ รัฐมนตรีจึงมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งที่ให้ออกจากราชการ ดังนั้นนายวิชาจึงยังคงดำรงตำแหน่งตุลาการเช่นเดิม ต่อมาจึงได้รับโปรดเกล้า ฯให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ รองอธิบดีผู้พิพากษาภาค1 รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ภาค2และภาค1ตามลำดับ กับได้รับเลือกตั้งให้เป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ผู้ทรงคุณวุฒิ สองสมัย ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาวชิรมงกุฎ และมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก [กรณีวิกฤตตุลาการ นายวิชาได้บันทึกไว้ในหนังสือชื่อ บันทึกประวัติศาสตร์ 100ปี กระทรวงยุติธรรม"การต่อสู้เพื่อความเป็นอิสระแห่งอำนาจตุลาการ กรกฎาคม 2534-มีนาคม 2535"]
นายวิชา มหาคุณ ดำรงตำแหน่งสุดท้ายในราชการศาลยุติธรรม คือ ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา ก่อนจะถูกเสนอชื่อจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาให้เป็นกรรมการการเลือกตั้ง และได้รับการคาดหมายว่าจะได้รับเลือกเป็น กกต.เพราะได้รับคะแนนเสียงเป็นอันดับหนึ่ง แต่ปรากฏว่าไม่ได้รับการคัดเลือกจากที่ประชุมวุฒิสภา เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2549 [1]
นายวิชา มหาคุณ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ ป.ป.ช.เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2549 ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 19 ]ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2549[2] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ และได้รับโปรดเกล้าฯเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550โดยได้รับการคัดเลือกให้เป็นรองประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ คนที่ 3 ประธานอนุกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญกรอบที่ 3 ว่าด้วยองค์กรอิสระและศาล
นายวิชา มหาคุณ เคยได้รับรางวัลนักสิทธิมนุษยชนดีเด่น จากสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน รางวัลคนไทยตัวอย่าง จากมูลนิธิธารน้ำใจ และรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชนดีเด่น จากสำนักงานส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ รวมทั้งได้รับการคัดเลือกให้เป็นตุลาการทำหน้าที่ไต่สวนคดีเด็กที่ได้รับภัยจากสงคราม ณ เมืองcolchester ประเทศอังกฤษ และในวันที่ 29 กรกฎาคม 2552 ได้รับรางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งชาติ จากสถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นายวิชามีผลงานด้านวิชาการ เป็นตำราหลายเล่ม เช่น กฎหมายล้มละลาย ฉบับสมบูรณ์ การตีความกฎหมาย (เขียนร่วมกับศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร) การใช้เหตุผลในทางกฎหมาย และกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ ฯลฯ นอกจากนี้ยังได้เผยแพร่ความรู้กฎหมายด้วยการเขียนหนังสือชุดกฎหมายสนุก สนุก เช่น คดีตัวอย่าง คดีข้ามศตวรรษ และกฎหมายกับความรัก ตลอดจนหนังสือความรู้เพื่อชุมชน เช่น การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นต้น รวมทั้งมีผลงานที่มีชื่อเสียงต่อสาธารณชน คือ งานด้านพัฒนาเด็กและเยาวชน ด้านบำบัดแก้ไขฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่ติดยาเสพติด โดยเป็นประธานมูลนิธิยุวพุทธพัฒนา ประธานมูลนิธิสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา ในพระอุปถัมป์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประธานมูลนิธิสถาบันพัฒนากระบวนการยุติธรรมเยาวชนและครอบครัว ประธานมูลนิธิโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ ประธานมูลนิธิกองทุนเยาวชนพัฒนา ประธานคณะกรรมการอำนวยการสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชน ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เป็นต้น
[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
ที่มา วิชา มหาคุณ - วิกิพีเดีย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น