วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สาลี่แม่บ๊วยของฝากจากสุพรรณบุรี

เมื่อพูดถึงของฝากของจังหวัดสุพรรณบุรีก็ต้องนึกถึงขนมสาลี่ แต่ต้นตำหรับสาลี่ของจังหวัดสุพรรณบุรี ก็ต้องสาลี่แม่บ๊วย อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ที่เจ้าของสูตรท้าคนชิมได้เลยว่าสาลี่แม่บ๊วยแท้ๆสูตรดั้งเดิมที่นี้เหนียวนุ่ม หอม หวาน ที่สำคัญไม่ติดคอเหมือนสาลี่เจ้าอื่นๆที่กินแล้วจะฝืดคอเป็นสูตรเด็ดที่ใครก็ไม่สามารถเลียนแบบได้อย่างแน่นอนและมีจำหน่ายที่เดียวไม่มีสาขาเพราะทดสดใหม่ทุกวันเรียกว่าใครไม่รู้จักสาลี่แม่บ๊วยแทบไม่มี
นางสาวสมพร หรือเจ๋เล็ก กาญจนจิตต์เจริญ บ้านเลขที่ 44 หมู่ที่ 5 ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เล่าให้ฟังว่าเดิมบ้านอยู่ที่ริมแม่น้ำท่าจีน ทำขนมสาลี่มาตั้งแต่ปี 2485 ประมาณ 70 ปี สมัยก่อนใช้มือตีไข่ใช้เตาฟืนนึ่งขนม และต่อมาเปลี่ยนพัฒนามาใช้เครื่องตีไข่และเปลี่ยนมาใช้เป็นเตาแก๊สแทนเตาฟืนที่สามารถนึ่งได้ครั้งละ 10 ถาด สำหรับสูตรการทำขนมสาลี่แม่เป็นผู้คิดค้นสูตร และเป็นสูตรที่ลงตัวที่สุดและถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น สมัยก่อนสาลี่ทำกินกับน้ำแข็งใสไม่มีการบรรจุถุงแบบปัจจุบันสาลี่จะเป็นของคู่กับน้ำแข็งใส จนกระทั่งประมาณปี 2513 เริ่มทำใส่ถุงขายที่งานอนุสรณ์ดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ เพราะมีการนำของดีของแต่ละอำเภอไปวางขายให้คนที่มาเที่ยวงานได้รู้จัก สมัยก่อนขนมสาลี่มีสีชมพูอย่างเดียวสมัยก่อนเป็นกลิ่นนมแมว ปัจจุบันมีหลายหลายรสหลายสีให้เลือก เริ่มแรกขายชิ้นละ 50 สตางค์ พอใส่ถุงก็ขาย 13 บาท ตอนสมัยก่อนใส่โหลไม่มีขายอย่างปัจจุบัน แม่บ๊วยเป็นชื่อแม่ ผู้คิดค้นสูตร สำหรับร้านแม่บ๊วยย้ายมาอยู่ที่ปัจจุบันเลขที่ 279/1-4 หมู่ที่ 5 ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า ได้เพียงประมาณ 10 ปี บริเวณถนนทางเข้าหน้าอำเภอบางปลาม้า ขนมสาลี่วันธรรมดาจะทำเพียง 10-20 ถาดเริ่มทำสาลี่ตั้งแต่ตีสี่เลิกสามโมงเช้าในวันธรรมดา ส่วนในวันหยุดเสาร์อาทิตย์เริ่มตั้งแต่ตีสี่เลิกทำช่วงเที่ยงวัน ทำอย่างนี้ตลอดอย่างต่อเนื่อง ทำอย่างนี้เพื่อให้เพียงพอต่อการขายหน้าร้านเพราะที่ร้านจะไม่มีสาขาส่วนสูตรการทำขนมและเคล็ดลับคือต้องผสมแป้งเสร็จนำไปนึ่งครึ่งชั่วโมงด้วยไฟคงที่ เรียกว่าถาดต่อถาดไม่ผสมให้เสร็จที่เดียวแล้วนึ่ง แป้งจะตายไม่อร่อย ต้องนึ่งด้วยไฟคงที่ อย่างใช้ไฟอ่อนหรือเร่งไฟแรงเกินเป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุไม่ได้มีส่วนช่วยอะไรเลย ใช้เวลาในการนึ่งน้อยไปสาลี่ก็ไม่สุกสาลี่เสียทั้งถาดถ้าใช้เวลาในการนึ่งมากไปสาลี่ก็แห้งกราบไม่อร่อย ต้องนุ่มเหนียวไม่ติดมือ วัสดุที่สำคัญคือไข่ไก่ต้องสดใหม่ไข่ขาวกับแดงต้องไม่แยกกันคือไข่ใหม่ ไข่เก่าก็ใช้ได้แต่ไม่อร่อย ไม่สวย ทุกรายละเอียดต้องควบคุมเองทุกขั้นตอนต้องใส่ใจทั้งหมด ทุกครั้งที่ลงมือทำจะต้องดูว่าขนมชนิดใดเหลือมากน้อยก็จะทำเสริมทุกวันเท่านั้นไม่ทำไว้เยอะเรียกว่าขายกันวันต่อวันเท่านั้น แรงงานทำใช้พี่น้องญาติในครัวเรือนทั้งหมดทำกันแบบพี่แบบน้อง สูตรต้องเป็นสูตรอย่าลดส่วนผสมใดลงไปไม่ได้เพราะจะเพี้ยนทันที วัตถุดิบจะแพงอย่างไรก็ต้องใช้อย่าลดอย่าเพิ่มอย่าใช้วัตถุดิบแทนกันไม่ได้ การทำขนมสาลี่ทุกอย่างต้องดี สด ใหม่ หลายคนถามว่าทำไมต้องมีลูกเกตุที่ด้านหน้าขนมสาลี่เป็นสูตรหรือไม่ ตอบได้ตรงนี้เลยว่าเป็นเรื่องของหน้าตาขนมที่ไม่ใส่ลูกเกตุก็ดูว่าสาลี่ดูโล้นไม่น่ากินใส่ลูกเกตุแล้วดูหน้าตาดีขึ้นมาทันทีไม่โล้น แต่ถ้าถามนักชิมจะรู้เลยว่าว่าลูกเกตุเมื่อผ่านการนึ่งแล้วจะมีรดชาดหวานแบบลงตัวเมื่อกินกับสาลี่ที่หอมกรุ่นออกจากเตาใหม่ๆลงตัวที่สุด กินกับน้ำชา กาแฟเข้าได้หมด ปัจจุบันขายถุงละ 40 บาท ในอนาคตเราเองก็อยากให้สาลี่แม่บ๊วยคงความมีคุณภาพอยู่อย่างนี้ตลอดไปเพราะสูตรทุกรายละเอียดจะถูกถ่ายทอดอยู่ที่พี่น้องและญาติของเราเท่านั้นมิได้มีการเผยแพร่สูตรและเทคนิควิธีการให้คนอื่นรู้จึงไม่มีใครสามารถทำได้เหมือนเราอย่างแน่นอนจะอีกกี่ปีสาลี่แม่บ๊วยก็จะยังคงอยู่เป็นของดีเมืองสุพรรณบุรีตลอดไป ปัจจุบันมีสาลี่ สาลี่ทิพย์ ครองแครง และขนมชั้น ที่เราทำเองที่นี้ เวลาเปิดปิดร้าน 8.00 น. ปิด 18.00 น.ส่วนร้านอาหารแม่บ๊วยจะเปิด 9.30 น.ปิด 17.00 น. สามารถสอบถามรายละเอียดสำรองที่นั่งได้ที่ โทร 035-587077 035-586416
บ้านนักข่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น