วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559

สุพรรณบุรี ศปป.6 กอ.รมน.ต่อยอด รร.บ้านทัพหลวง เป็นต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง

  


             ตามที่ พลโทสมโภชน์ วังแก้ว รอง ผอ.ศปป.6 กอ.รมน.พร้อมด้วย พ.อ.จิรศักดิ์ พรรังสฤษฎ์   ผอ.สผค.ศปป.6 กอ.รมน. พ.อ.หญิงปภากร เบ็ญจขันธ์  ผอ.ศปม.ศปป.6 กอ.รมน. นำคณะลงพื้นที่ รร.บ้านทัพหลวง อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี เพื่อจัดตั้ง ศูนย์พัฒนาตามแนวพระราชดำริ รร.บ้านทัพหลวง  เมื่อ  วันที่  26  ตุลาคม  2558  ที่ผ่านมา  พร้อม ติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์  การบริหารจัดการระบบกระแสไฟฟ้า  และ ระบบการดูแลรักษา   ตามราบละเอียด ทราบแล้วนั้น





        บัดนี้ การดำเนินการ ได้สำเร็จลุล่วง ไปได้อย่างดี   พันเอกราชันย์ สุนทรเมือง ผู้อำนวยการส่วนแผนโครงการและวิเทศสัมพันธ์ ศปป.6 กอ.รมน.  จึงได้มอบหมาย อำนวย เดชทองคำ ผู้ประสานงาน หารือ นายพงษ์ศักดิ์ ธาดาสีห์   ผู้อำนวยการ โรงเรียนบ้านทัพหลวง  เพื่อนำร่อง โครงการโรงเรียนต้นแบบ เศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ  พร้อมดึงชุมชน เข้ามามีส่วนร่วม พัฒนาโรงเรียน







แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Module)
    แผงโซลาร์เซลล์ Solar Cell เป็นแผงผลิตกระแสไฟฟ้า จากพลังงานแสงอาทิตย์ หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Photovoltaics module (PV module) หรือมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Solar module เป็นอุปกรณ์หลักสำคัญในการผลิตไฟฟ้า มีลักษณะด้านหน้าเป็นแผ่นกระจกใส ด้านในเป็นแผ่นโซลาร์เซลล์หลายแผ่น ต่อเรียงกัน อาจจะมีสีฟ้าเข้มหรือสีดำ แล้วแต่ชนิดของโซลาร์เซลล์ที่มาทำแผง และมีขนาดใหญ่เล็กแตกต่างกันไป แล้วแต่ขนาดของกำลังไฟฟ้า(วัตต์)ที่ผลิตได้ ขอบแผงเป็นโลหะหรืออลูมิเนียมแข็งแรง ไว้สำหรับยึดกับโครงต่างๆ เช่นหลังคาบ้าน หรือโครงเหล็กที่ติดตั้งบนพื้นดิน
    ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์เซลล์ จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง ซึ่งสามารถนำไปต่อกับอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับไฟกระแสตรง หรืออาจนำไฟที่ได้ไปแปลงเป็น ไฟฟ้ากระแสสลับ ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่าอินเวอร์เตอร์ จะได้ไฟฟ้ากระแสสลับ เพื่อใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าตามบ้านทั่วไปได้ โดยสามารถเลือกต่อได้หลายแบบ ตามลักษณะการออกแบบและใช้งาน มาตรฐานสากล อายุการใช้งาน 25 ปี


            โรงเรียน บ้านทัพหลวง  ภายใต้การบริหารงาน ของ นายพงษ์ศักดิ์ ธาดาสีห์   ผู้อำนวยการ โรงเรียน ฯ  แห่งนี้ นับเป็นสถานศึกษา ที่มีความพร้อม ทั้งในด้าน บุคลากร  การเรียนการสอน และ ความสัมพันธ์กับชุมชน จึงเรียกได้ว่า เหมาะสม ด้วยประการทั้งปวง  การที่มีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นของตนเอง เท่ากับมีกองทุนก้อนโต อยู่ในสถานศึกษา  โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่นี่ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้เอง และ ยังสามารถขายในส่วนที่เหลือใช้ ให้กับ การไฟฟ้า เพื่อนำเงินมาใช้พัฒนาโรงเรียน ในด้านต่างๆ ได้อีกด้วย


           การพัฒนาโรงเรียนบ้านทัพหลวง  เพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบด้านเศรษฐกิจพอเพียง ในครั้งนี้ จะเป็นการกระทำในสองส่วนด้วยกัน คือ การดึงชาวบ้านมามีส่วนร่วมพัฒนาโรงเรียน และ การกระจายรายได้ สู่ชุมชน ด้วยการจ้างงาน คือชาวบ้านทีมาทำงาน ก็จะได้รับค่าแรง ในการทำงานครั้งนี้ เพราะในช่วงนี้ พื้นที่อำเภอหนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี  ประสบปัญหาภัยแล้ง ทำไร่ ทำนา ไม่ได้ ทาง ศปป.6 จึงเห็นว่าน่าจะใช้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ มานำร่องกับโครงการนี้ ถือเป็นการ ทำประโยชน์ได้สองทาง พร้อมๆกัน  คือ ชาวบ้านได้ร่วมพัฒนาโรงเรียน  และ ชาวบ้านได้ทำงานมีรายได้จากการจ้างงาน











อำนวย  เดชทองคำ  ผู้สื่อข่าวพิเศษ  รายงาน
เรวัติ  น้อยวิจิตร  สุพรรณบุรีนิวส์  rewat.noyvijit@hotmail.com  08-1910-7445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น