วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สระบุรี ผู้ว่าฯสนองนโยบายรัฐบาล เร่งแก้ปัญหาภัยแล้งประชาชนมีส่วนร่วม




              จังหวัดสระบุรี สนองนโยบายรัฐบาล  เร่งจ้างงานเพิ่มรายได้ และลดผลกระทบจากภัยพิบัติจัดโครงการขุดลอกคลอง กำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางลำคลอง โครงการบ่อน้ำผิวดินสำหรับผลิตน้ำประปา โครงการปรับปรุงแหล่งน้ำศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง และโครงการสอนอาชีพการผลิตปุ๋ยอินทรีย์







             เมื่อ l ส.ค.58 เวลา 13.00 น. นายวิเชียร พุฒิวิญญู ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ก็ได้เรียกประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้องโดยเร่งด่วน เพื่อหาแนวทางปฏิบัติในการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้ง โดยเฉพาะมาตรการจ้างแรงงานเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากภาวะฝนแล้งทั้งทางตรงและทางอ้อม  ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21กรกฎาคม 2558ที่ได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณามาตรการจ้างแรงงานในพื้นที่ประสบภาวะฝนแล้ง เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติในช่วงที่เกิดภัย







              ทั้งนี้  นายวิเชียรพุฒิวิญญู ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี  พร้อมนายภคพงศ์  ทวิพัฒน์ รอง ผวจ.สระบุรี ดร.ชรัส  บุญณสะ รอง ผวจ.สระบุรี  นายแปลก เทพรักษ์ นอภ.วิหารแดง  นาย สุพจน์ ต่ออาจหาญ  นอภ.หนองแซง  นายบัญชา  เชาวรินทร์ นอภ.เสาไห้  หัวหน้าส่วนราชการ สื่อมวลชน และ พ.อ.เพิ่มศักดิ์  ขุนโขลน อาจารย์ หน.แผนก วิชายุทธวิธี รรม.ศม.นำ ชุด กร.ศม. ได้ลงพื้นที่ เพื่อติดตามการดำเนินงานของโครงการกำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางลำคลองลำศาลา ตำบลหนองหมู อำเภอวิหารแดง มีการจ้างแรงงานในพื้นที่ จำนวน150  คน พร้อม กำลังพลทหารจากศูนย์การทหารม้า ให้การสนับสนุน ระยะดำเนินการ 1 วัน ระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร โครงการขุดลอกคลองบ่อน้ำผิวดินสำหรับผลิตน้ำประปาวัดอู่ตะเภา  ตำบลม่วงหวาน อำเภอ หนองแซง  การจ้างแรงงาน 50 คนต่อวัน ระยะเวลาดำเนินการ  10 วันระยะทางประมาณ 500 เมตร







                 โครงการปรับปรุงแหล่งน้ำศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง(โคกหนองนาโมเดล) ตำบลม่วงงาม อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี การจ้างแรงงาน  30 คน ต่อวัน ระยะเวลาดำเนินการ  15 วัน ระยะทางประมาณ 800 เมตร และโครงการฝึกอบรมส่งเสริมอาชีพระยะสั้นการผลิตปุ๋ยมูลเดือน โดยแรงงาน ที่เข้าร่วมโครงการ 4 โครงการ จะได้รับค่าจ้างตามค่าแรงขั้นต่ำรายละ 300 บาทโดยเน้นการจ้างแรงงานในพื้นที่ วงเงิน 10 ล้านบาทตามมติ ครม.มาใช้ในการดำเนินมาตรการช่วยเหลือประชาชน เพื่อการป้องกัน ยับยั้ง ลดความเสียหาย หรือลดผลกระทบจากภัยพิบัติที่เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเบื้องต้นอนุมัติงบประมาณไป 12 อำเภอ งบประมาณ 6 ล้านบาทเศษ นำไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงประชาชนได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงด้วย






(คนธรรมดา  ม้าตัวเดียว)
เรวัติ น้อยวิจิตร สุพรรณบุรีนิวส์   rewat.noyvijit@hotmail.com 08-1910-7445



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น