วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

มุกดาหาร พ.อ.ยุทธนา ม่วงพูลสวาสดิ์ เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมจัดตั้งหมู่บ้าน อพป.


            จังหวัดมุกดาหาร   พ.อ.ยุทธนา  ม่วงพูลสวาสดิ์  รอง ผอ.รมน.จว.ม.ห.(ท) เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมจัดตั้งหมู่บ้าน อพป.ของ กอ.รมน.จว.ม.ห.









           011000มีค59 พ.อ.ยุทธนา  ม่วงพูลสวาสดิ์  รอง ผอ.รมน.จว.ม.ห.(ท) เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมจัดตั้งหมู่บ้าน อพป.ของ กอ.รมน.จว.ม.ห. โดยมีผู้แทน นอ.เมืองมุกดาหาร หน.ส่วนราชการอำเภอ ผู้บริหาร อปท. กน. ผญบ.ในพื้นที่ร่วมพิธีฯ ณ บ.ดอนสวรรค์ ม.10 ต.ดงเย็น อ.เมืองมุกดาหาร ฝึกอบรมระหว่างวันที่ 29 กพ -8มีค59









อำนวย  เดชทองคำ  ผู้สื่อข่าวพิเศษ  จ.มุกดาหาร
เรวัติ  น้อยวิจิตร  สุพรรณบุรีนิวส์  rewat.noyvijit@hotmail.com  08-1910-7445

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ม.คริสเตียน สำรวจความคิดเห็น ปชช.เกี่ยวกับ การใช้โซเชียลมีเดีย ของวัยรุ่น

 


          ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(หรือโซเชียลมีเดีย) ของวัยรุ่น  โดย ฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน




         ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทร์จิรา  วงษ์ขมทอง อธิการบดีมหาวิทยาลัยคริสเตียน เปิดเผยว่า ฝ่ายวิจัยของมหาวิทยาลัยคริสเตียน      ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือโซเชียลมีเดีย ในวัยรุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย จำนวน 1,283 คน เป็นชายร้อยละ 55.3 และหญิงร้อยละ 44.7  กลุ่มอายุ 18-30 ปี มากที่สุด ร้อยละ 33.7 มีสถานภาพโสด ร้อยละ 39.4  และสถานภาพสมรส ร้อยละ 36.9  นับถือศาสนาพุทธ  มากที่สุด ร้อยละ 96.3  มีการศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด ร้อยละ 38.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา มากที่สุด ร้อยละ 28.0 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 22.9 และเป็นเจ้าของกิจการ/มีธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 20.1 






ประชาชนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 69.5 มีความเห็นว่า วัยรุ่นมีพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียมากถึงมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 67.4  มีความห็นว่า วัยรุ่นใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนและคนในครอบครัวมากที่สุด และร้อยละ 54.4 มีความเห็นว่า ใช้เพื่อความบันเทิง ร้อยละ 58.9  มีความเห็นว่า วัยรุ่นใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการสนทนามากเกินจำเป็น และร้อยละ 46.5 เห็นว่า ใช้ในการดูสื่อลามกอนาจาร ทั้งนี้ ร้อยละ 39.3 เห็นว่า ใช้ในการเล่นเกมส์ออนไลน์และการเล่นการพนันออนไลน์






กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.2 เห็นว่า วัยรุ่นควรใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการค้นคว้าข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียน  และร้อยละ 53.0  เห็นว่า ควรใช้ติดต่อสื่อสารกับครู/อาจารย์ สำหรับเรื่องระยะเวลาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร้อยละ 33.8 มีความเห็นว่า วัยรุ่นใช้เวลามากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน และร้อยละ 24.7 มีความเห็นว่า วัยรุ่นใช้เวลาวันละ 4-6 ชั่วโมง ส่วนเรื่องผลเสียต่อวัยรุ่น ร้อยละ 41.7 มีความเห็นว่า ทำให้ผลทางการเรียนตกต่ำ และร้อยละ 37.6             มีความเห็นว่า อาจส่งผลให้ถูกล่อลวง/ถูกทำร้ายหรือถูกข่มขืน 






เมื่อสอบถามถึงหน่วยงานที่ควรรับผิดชอบดำเนินการแก้ไขปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ไม่เหมาะสมของวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 48.4 เห็นว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควรเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการแก้ปัญหาเรื่องนี้  ร้อยละ 43.8 เห็นว่า ควรเป็นกระทรวงศึกษาธิการที่ต้องรับผิดชอบ และร้อยละ 33.3  เห็นว่า พ่อ แม่ ผู้ปกครองควรร่วมรับผิดชอบแก้ปัญหาเรื่องนี้ด้วย ส่วนความคิดเห็นเรื่องการป้องกันปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ไม่เหมาะสมของวัยรุ่น ร้อยละ 49.7  เห็นว่า ควรมีการกำหนดบทลงโทษเกี่ยวกับการเผยแพร่สื่อลามก อนาจาร ร้อยละ 40.5 เห็นว่า ควรควบคุมและกวดขันการเล่นเกมส์ หรือการพนันออนไลน์  รวมทั้งร้อยละ 39.9 เห็นว่า พ่อ แม่ ผู้ปกครองและครู อาจารย์ ควรเป็นแบบอย่างที่ดี   ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้กับวัยรุ่น 








ในปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นปัจจัยที่จำเป็นสำหรับชีวิตประจำวันของคนทุกวัย  โดยเฉพาะวัยรุ่นเป็นกลุ่มคนที่เกิดมาในยุคดิจิทอล จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่และสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ถูกต้องและเหมาะสมจากผู้ปกครอง อีกทั้งครูอาจารย์จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดี และให้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารเทศอย่างถูกต้องและใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อให้วัยรุ่นไทยสามารถควบคุมดูแลตนเองได้ รวมทั้งไม่ตกเป็นเครื่องมือของมิจฉาชีพที่จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการล่อลวงให้เด็กและเยาวชนหลงผิด เสียเวลา เสียทรัพย์ เสียการเรียนและ   อาจทำให้เสียอนาคตได้






นางสาวชนาธิป  พึ่งดอกไม้   โทรศัพท์ 0-3422-9480  ต่อ 1171-3
 เรวัติ น้อยวิจิตร   hub admin rewat.noyvijit@hotmail.com  08-1910-7445

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มอบรางวัล ให้ ส.ต.ต.เสกสรรค์ ภูเขียว ตำรวจฮีโร่



            รองผบ.ตร.เดินทางมามอบรางวัลและเป็นขวัญกำลังใจให้ตำรวจหนุ่มฮีโร่และชุดจับกุมคนร้ายที่สภ.บ้านหมอ





           เมื่อวันที่27กุมภาพันธ์2569  เวลา14.30 น. พล.ต.อ. พงศ์พัฒน์ พงษ์เจริญ รองผบ.ตร. พร้อมขณะได้เดินทางมาที่ สภ.บ้านหมอ อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี เพื่อมาเป็นขวัญกำลังใจและมอบเงินให้ ส.ต.ต.เสกสรรค์ ภูเขียว และชุดจับกุมและยังกล่าวชื่นชมการปฏิบัติหน้าที่ของชุดกับกุมอีกด้วยและยังกล่าวว่าจะเสนอผลงานในการปฏิบัติหน้าที่ในครั้งนี้ อีกด้วยและได้มีชาวบ้านได้มามอบกระเช้าของขวัญให้กับ ส.ต.ต.เสกสรรค์ ภูเขียว เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้เพราะการปฏิบัติงานเป็นการเสี่ยงและเข้มแข็งเป็นตัวอย่างที่ดีกับวงการตำรวจต่อไป







            ต่อมาได้เดินทางไปดูจำลองเหตุการณ์สถานที่ตั้งด่านวันที่เกิดเหตุบริเวณหน้าวัดสะพานช้าง ถนนบ้านหมอ-พระพุทธบาทว่าการปฏิบัติของตำรวจชุดจับกุมคนร้ายทำตามขั้นตอนหรือไม่และก็ชื่นชมในการจับกุมคนร้ายในครั้งนี้ว่าทำอย่างถูกต้องและยังกล่าวว่าการติดกล้องไว้บนหมวกกันน็อกเป็นเรื่องที่ดีต่อตำรวจที่ขับขี่จักรยานยนต์ของตำรวจและจะนำเสนอให้ติดกล้องที่หมวกกันน็อกกับตำรวจทุกสถานีตำรวจอีกด้วย






(คนธรรมดา  ม้าตัวเดียว)
เรวัติ น้อยวิจิตร   hub admin rewat.noyvijit@hotmail.com  08-1910-7445

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ม.นเรศวร ทำวิจัย “ ผ้าทอลวดลายใหม่เอกลักษณ์ประจำจังหวัดพิษณุโลก ”


มหาวิทยาลัยนเรศวรทำวิจัย “ผ้าทอลวดลายใหม่เอกลักษณ์ประจำจังหวัดพิษณุโลก”
องค์ความรู้จากภูมิปัญญา สู่สินค้าวัฒนธรรมรับประชาคมอาเซียน
สะท้อนตัวตน บนความร่วมสมัย


                ผ้าไหม ผ้าฝ้ายฝีมือคนไทย คือภูมิปัญญา วัฒนธรรมอันงดงามที่มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วโลก โดยแต่ละจังหวัดต่างมีผ้าทอลวดลายเป็นเอกลักษณ์ สำหรับจังหวัดพิษณุโลกปัจจุบันมีผ้ามัดหมี่ลายดอกปีบ ซึ่งถอดแบบมาจากปีบพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานของจังหวัดพิษณุโลก เป็นผ้าทอพื้นเมืองประจำจังหวัดที่มีการรณรงค์ส่งเสริมให้สวมใส่อย่างต่อเนื่อง แต่นอกจากนี้แล้ว พิษณุโลกยังมีลวดลายผ้าทอของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่อาศัยกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ซึ่งมีความน่าสนใจอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้เอง สถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งมีการศึกษา วิจัยผ้าของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ตามภารกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จึงได้ดำเนินงานวิจัยเรื่อง “การออกแบบลวดลายผ้าทอเอกลักษณ์จังหวัดพิษณุโลก” ขึ้น


ลวดลายดอกปีบกาสะลอง


งานวิจัยนี้เริ่มตั้งแต่การศึกษา รวบรวมข้อมูลผ้าของแต่ละชาติพันธุ์ในจังหวัดพิษณุโลก โดยการลงพื้นที่ของบุคลากรสถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน พร้อมทั้งศึกษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ และเอกสารตำราต่าง ๆ ที่สื่อความหมายตัวตนของพิษณุโลก เช่น ลายปูนปั้น จิตรกรรมฝาผนัง เป็นต้น”ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล ผู้อำนวยการสถานอารยะรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวถึงงานวิจัย โดยมีนายวชิรพงษ์ วงศ์ประสิทธิ์ นักวิชาการช่างศิลป์ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย เล่าถึงการดำเนินการว่า


  ลวดลายปีบขาว

“เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้ว ก็นำมาออกแบบเป็นลวดลายผ้าทอในลักษณะกราฟ โดยใช้หลักการสังเกต วิเคราะห์ ศึกษาและจัดกลุ่มลวดลายออกเป็น ๔ กลุ่ม คือ กลุ่มลวดลายสัตว์ กลุ่มลวดลายพรรณไม้ กลุ่มลวดลายสิ่งของเครื่องใช้ และกลุ่มลวดลายเบ็ดเตล็ด กลุ่มละ ๓ ลวดลาย รวมเป็น ๑๒ ลาย จากนั้นนำสำรวจความคิดเห็น สอบถามกลุ่มตัวอย่าง โดยวิธีการสุ่มแบบไม่จำเพาะเจาะจง และไม่เน้นเฉพาะคนพิษณุโลกเพราะเราคาดหวังว่าเมื่องานวิจัยสำเร็จเกิดเป็นผืนผ้าขึ้นมาแล้ว ทุกคนสามารถใช้ได้”
จากการสอบถามกลุ่มตัวอย่าง ได้ลวดลายลักษณะผ้าทอที่มีความพึงพอใจสูงสุด จำนวน ๖ ลาย จึงนำไปสู่กระบวนการทอจริง โดยได้รับความร่วมมือจากกลุ่มทอผ้าบ้านหนองหญ้าปล้อง ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีเชื้อสายชาติพันธุ์ไทลาว


ลวดลายดอกนนทรี

ผ้าทอ ๖ ลวดลายประกอบด้วย

๑.    ลวดลายดอกปีบกาสะลองได้แรงบันดาลใจจากมุมด้านหน้าของดอกปีบ ที่มีลักษณะกลีบดอก ๔ กลีบ
๒.    ลวดลายปีบขาว เป็นแนวคิดต่อเนื่องมาจากลวดลายผ้าทอดอกปีบดั้งเดิม
๓.ลวดลายดอกนนทรี มีแรงบันดาลใจจากดอกไม้ประจำจังหวัดพิษณุโลกคือ ดอกนนทรี ลักษณะเป็นดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงและก้านกิ่งมีสีน้ำตาล
๔. ลวดลายไก่โคมขอ ได้แรงบันดาลใจจากไก่ชนเหลืองหางขาวของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งปรากฏอยู่ในพงศาวดารเมื่อครั้งพระองค์ทรงพำนักอยู่ในกรุงหงสาวดี ทรงนำไก่เหลืองหางขาวไปชนกับไก่ของพระมหาอุปราช
๕. ลวดลายสองแควได้แรงบันดาลใจจากลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดพิษณุโลกที่มีแม่น้ำสองสายไหลผ่านอันเป็นที่มาของชื่อเมืองสองแคว
๖. ลวดลายน้ำน่านได้แนวคิดจากแม่น้ำน่าน แม่น้ำสายหลักของจังหวัดพิษณุโลก
นายวชิรพงษ์ วงศ์ประสิทธิ์ เล่าถึงกระบวนการวิจัยต่อว่า“ตอนนี้เราได้ผ้าทอทั้ง ๖ ลวดลายแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การนำไปสำรวจความพึงพอใจอีกครั้ง เพื่อให้ได้ ๓ ลวดลายใหม่ เป็นผ้าทอเอกลักษณ์ของจังหวัดพิษณุโลกจำนวนทั้งสิ้น ๓ ลวดลาย เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคในการคัดสรรลวดลายผ้าทอทั้งในด้านความสวยงามและสุนทรียภาพ ซึ่งทำให้เกิดโอกาสและช่องทางในด้านการแข่งขันตามลักษณะกลไกของการตลาด”


ลวดลายไก่โคมขอ

นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังมุ่งหวังให้ผลของการวิจัยครั้งนี้สอดรับกับการเปิดประชาคมอาเซียนเนื่องจากแนวโน้มของรูปแบบสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการจะเปลี่ยนไปเป็นสินค้าที่มีความเป็นวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นมากยิ่งขึ้นดังนั้น เมื่อมีการคิดประดิษฐ์ลวดลายผ้าเอกลักษณ์ของตัวเอง จังหวัดพิษณุโลกก็จะมีวัฒนธรรมผ่านลวดลายผ้าทอพื้นเมือง นำเสนอเป็นสินค้าวัฒนธรรมประจำจังหวัดที่มีคุณลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัว มีความหลากหลาย เป็นการสร้างมูลค่าและคุณค่าทางเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนได้


ลวดลายสองแคว

สถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร ขอเชิญทุกท่านชื่นชมผ้าทอต้นแบบจำนวน ๖ ลวดลายเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเลือกสรร กลั่นกรอง ก่อเกิดเป็น ๓ ลวดลายผ้าทอเอกลักษณ์ประจำจังหวัดพิษณุโลก ในนิทรรศการ “เส้นสายชาติพันธุ์สู่การพัฒนาผ้าทอร่วมสมัย”ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานความจริงยิ่งกว่าฝัน หลังวัน ๒๕ ปี มหาวิทยาลัยนเรศวร วันที่ ๑๐ – ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๙ ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า พิษณุโลก



ลวดลายน้ำน่าน

 พรปวีณ์  ทองด้วง   นักประชาสัมพันธ์
 สถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน  มหาวิทยาลัยนเรศวร
เรวัติ น้อยวิจิตร   hub admin rewat.noyvijit@hotmail.com  08-1910-7445

สุพรรณบุรี นางตุลาวรรณ ทัพวนานต์ จัดโครงการสนามจราจร ให้เด็กประถมศึกษา




         ขนส่งสุพรรณบุรี จัดกิจกรรมเสริมสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยให้กับเด็กนักเรียนระดับชั้น ป.4 – 6 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 จำนวน 7 รุ่นรวม 700 คน



 นางตุลาวรรณ ทัพวนานต์ ขนส่งจังหวัดสุพรรณบุรี 


         นางตุลาวรรณ ทัพวนานต์ ขนส่งจังหวัดสุพรรณบุรี เปิดเผยว่า จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ดำเนินการตามโครงการสนามจราจรเยาวชนเสริมสร้างจิตสำนึกความปลอดภัย เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในการใช้รถใช้ถนนอย่างถูกต้องกับเด็กนักเรียนระดับชั้น ป.4 – 6 มาแล้วเป็นเวลา 12 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๖ จนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕8 โดยเฉพาะในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ - ๒๕๕8 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) หรือกองทุนเลขสวย ทำให้สามารถจัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมสนามจราจรเยาวชนให้กับสำนักงานขนส่งจังหวัด/สำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาได้อย่างต่อเนื่องทั่วถึงเพียงพอ สามารถจัดอบรมสนามจราจรเยาวชนได้อย่างเต็มรูปแบบ การดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนต่าง ๆ ในการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยดี นักเรียนและเยาวชนให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก และเพื่อความต่อเนื่องในปี 2559 จึงได้ดำเนินโครงการดังกล่าวต่อไปอีก โดยในเขตรับผิดชอบของสำนักงานขนส่งจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 3 รุ่น รวม 300 คน สำนักงานขนส่งจังหวัดสุพรรณบุรี สาขาอำเภอเดิมบางนางบวช และสาขาอำเภอสองพี่น้อง สาขาละ 200 คน รวมทั้งสิ้น 700 คน






          ขนส่งจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ในการวางรากฐานด้านจิตสำนึกความปลอดภัย ควบคู่ไปกับการให้ความรู้ที่ถูกต้องในการใช้รถใช้ถนนและปลูกฝังวินัยจราจร เสริมสร้างทักษะด้านการขี่รถจักรยานสองล้ออย่างถูกต้องและปลอดภัยพร้อมทั้งสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดสวัสดิภาพในการใช้รถใช้ถนน ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีและเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีจิตสำนึกความปลอดภัยและวินัยจราจรได้ในอนาคต อันเป็นการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้สถานศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมจะได้ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนแก่นักเรียนเพิ่มขึ้นด้วย   จึงขอเชิญชวนสถานศึกษาหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สนับสนุนสถานศึกษาในพื้นที่ที่สนใจสามารถขอเข้าร่วมโครงการดังกล่าวโดยแจ้งความประสงค์เป็นหนังสือไปที่สำนักงานขนส่งจังหวัดสุพรรณบุรี โทร. 035 – 412463 สำนักงานขนส่งจังหวัดสุพรรณบุรี สาขาอำเภอเดิมบางนางบวช โทร. 035-578506 และสาขาอำเภอสองพี่น้อง โทร. 035-589508 เพื่อจะได้จัดลำดับตามความเหมาะสมต่อไป






เกรียงไกร ก่อเกียรติตระกูล บรรณาธิการข่าวท้องถิ่น อู่ทองนิวส์
 เรวัติ น้อยวิจิตร   hub admin rewat.noyvijit@hotmail.com  08-1910-7445

สระบุรี อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จัดงานประเพณีวัฒนธรรมไท--ยวน อย่างยิ่งใหญ่



             เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2559  เวลา 18.00 น.นายอภิชาติ   เหมือนมนัส นายอำเภอเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสระบุรี ร่วมกับพี่น้องชาวอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี จัดงานส่งเสริมอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรม ไท-ยวน ประจำปี 2556 โดยมี นายวิเชียร  พุฒิวิญญู   ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เดินทางเป็นประธานในพิธี พร้อมคณะนางอังคณา  พุฒิวิญญู  นายกเหล่ากาชาดจังหวัดสระบุรี  และหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดสระบุรี นายกเทศมนตรีตำบลหน้าพระลาน   นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุกตำบล  คณะผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ณ. บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอเฉลิมพระเกียรติ  จ.สระบุรี









             นายอภิชาต ฯ กล่าวว่า สืบเนื่องจากในพื้นที่  อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี  มีประชาชนประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์  จะเป็นชาวไท-ยวนที่ อพยพมา จากเมืองเชียงแสน   พร้อมกับชาวไท-ยวนพื้นที่ อื่นๆ เช่นที่อ.เสาไห้ อ.เมืองสระบุรี  และชาวไท-ยวน จ.ราชบุรี  เมื่อครั้งในรัชกาลที่ 1  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ปลดปล่อยหัวเมือง ภาคเหนือจากการปกครอง ของพม่า ใน อดีตกาลชาวไท-ยวน  ที่อพยพโยกย้าย  มาลงมาตั้งรกรากอยู่ในเขตนี้  จึงมีวัฒนธรรมประเพณีมีที่แตกต่างจากวัฒนธรรมประเพณี   ของชาวภาคกลางโดยทั่วไป  มีความเป็นอยู่ และมี อัตลักษณ์ ที่โดดเด่น  ทางด้านการแต่งกาย   ภาษาพูดอาหารการกิน วิถีชีวิต และขนบธรรมเนียม ประเพณี  ที่ยังคงประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา   เช่นประเพณีบุญกลางบ้าน  ประเพณีบุญหนังสือ  ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเข้มแข็งของภูมิปัญญาท้องถิ่นและความผูกพันทางสังคมในชุมชนให้กลุ่มชาติพันธุ์  ชาวไท-ยวน มีความผูกพันทางสังคมต่อกันอย่างลึกซึ้ง  มีวัฒนธรรมประเพณี  อัตลักษณ์เฉพาะตนของชาวไท-ยวน  เป็นเครื่องมืออันสำคัญในการผูกพัน ร้อยรับทางสังคม ที่ทำให้ชาวไท-ยวน ทุกคนและชาวไทย เครือข่ายอื่นที่อยู่ร่วมกันภาคภูมิใจในความงดงาม









              ทางด้านจิตใจที่มีความอ่อนโยนและด้านการแสดงออกทางสังคม  เช่นด้านภาษา ด้านการแต่งกายด้านวัฒนธรรมประเพณี อันแสดงถึงความเป็นชาติพันธุ์ที่มี อารยะธรรม อันเก่าแก่  การจัดงานส่งเสริมอนุรักษ์ ประเพณีวัฒนธรรม ไท-ยวน อ.เฉลิมพระเกียรติในครั้งนี้  ถือเป็นการแสดงออกถึงความงดงาม  ความภาคภูมิใจ และความตระหนักถึงคุณค่าของความดีงามของมรดกวัฒนธรรม  ที่บรรพบุรุษได้ตกทอดสู่ลูกหลาน  ทำให้สังคมไทย ทั่วไปได้รับรู้









            ในงานครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือ จาก นายจิโรจ  ศรีสถาพร ผู้จัดการฝ่ายรัฐสัมพันธ์ และมวลชนสัมพันธ์บ.พีทีไอ โพลีน  จำกัด (มหาชน)   และ บ.ทรูสโตน จํากัด  รวมถึงพี่น้องประชาชนในพื้นที่ซึ่งทุกฝ่าย  ถือว่าเป็นเจ้าภาพงานร่วมกันจนทำให้งานที่จัดขึ้นในวันนี้สมบูรณ์ทั้งบรรยากาศและความเป็นมิตรพร้อมที่จะให้ผู้มาร่วมงานทุกท่านได้ชื่นชมความงามของประเพณีวัฒนธรรมในครั้งนี้ซึ่งบรรยากาศ  ภายในงาน มีการเชิญขันโตก  การแสดงของกลุ่ม ชาติพันธุ์ ชาวไท-ยวนการประกวดสาวงามไท-ยวน  การประกวดผู้ร่วมงานที่ แต่งกายดี มีเอกลักษณ์ตามวัฒนธรรมไท-ยวน ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างดียิ่ง








(คนธรรมดา  ม้าตัวเดียว)
เรวัติ  น้อยวิจิตร  Hub Admin  rewat.noyvijit@hotmail.com  08-1910-7445