ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(หรือโซเชียลมีเดีย)
ของวัยรุ่น โดย ฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง อธิการบดีมหาวิทยาลัยคริสเตียน
เปิดเผยว่า ฝ่ายวิจัยของมหาวิทยาลัยคริสเตียน ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือโซเชียลมีเดีย
ในวัยรุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย
จำนวน 1,283 คน เป็นชายร้อยละ 55.3
และหญิงร้อยละ 44.7 กลุ่มอายุ
18-30 ปี มากที่สุด ร้อยละ 33.7 มีสถานภาพโสด
ร้อยละ 39.4 และสถานภาพสมรส
ร้อยละ 36.9 นับถือศาสนาพุทธ มากที่สุด ร้อยละ 96.3 มีการศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด
ร้อยละ 38.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา มากที่สุด ร้อยละ
28.0 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 22.9 และเป็นเจ้าของกิจการ/มีธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 20.1
ประชาชนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่
ร้อยละ 69.5 มีความเห็นว่า วัยรุ่นมีพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียมากถึงมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างร้อยละ
67.4 มีความห็นว่า วัยรุ่นใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนและคนในครอบครัวมากที่สุด
และร้อยละ 54.4 มีความเห็นว่า ใช้เพื่อความบันเทิง ร้อยละ 58.9 มีความเห็นว่า
วัยรุ่นใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการสนทนามากเกินจำเป็น และร้อยละ 46.5 เห็นว่า ใช้ในการดูสื่อลามกอนาจาร ทั้งนี้ ร้อยละ 39.3 เห็นว่า ใช้ในการเล่นเกมส์ออนไลน์และการเล่นการพนันออนไลน์
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่
ร้อยละ 54.2 เห็นว่า วัยรุ่นควรใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการค้นคว้าข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียน และร้อยละ 53.0 เห็นว่า ควรใช้ติดต่อสื่อสารกับครู/อาจารย์ สำหรับเรื่องระยะเวลาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ร้อยละ 33.8 มีความเห็นว่า วัยรุ่นใช้เวลามากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน และร้อยละ 24.7 มีความเห็นว่า วัยรุ่นใช้เวลาวันละ
4-6 ชั่วโมง ส่วนเรื่องผลเสียต่อวัยรุ่น ร้อยละ 41.7 มีความเห็นว่า ทำให้ผลทางการเรียนตกต่ำ และร้อยละ
37.6 มีความเห็นว่า อาจส่งผลให้ถูกล่อลวง/ถูกทำร้ายหรือถูกข่มขืน
เมื่อสอบถามถึงหน่วยงานที่ควรรับผิดชอบดำเนินการแก้ไขปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ไม่เหมาะสมของวัยรุ่น
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 48.4 เห็นว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควรเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการแก้ปัญหาเรื่องนี้
ร้อยละ 43.8 เห็นว่า ควรเป็นกระทรวงศึกษาธิการที่ต้องรับผิดชอบ และร้อยละ 33.3 เห็นว่า พ่อ แม่ ผู้ปกครองควรร่วมรับผิดชอบแก้ปัญหาเรื่องนี้ด้วย
ส่วนความคิดเห็นเรื่องการป้องกันปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ไม่เหมาะสมของวัยรุ่น
ร้อยละ 49.7 เห็นว่า ควรมีการกำหนดบทลงโทษเกี่ยวกับการเผยแพร่สื่อลามก
อนาจาร ร้อยละ 40.5 เห็นว่า ควรควบคุมและกวดขันการเล่นเกมส์
หรือการพนันออนไลน์ รวมทั้งร้อยละ 39.9 เห็นว่า พ่อ แม่ ผู้ปกครองและครู อาจารย์ ควรเป็นแบบอย่างที่ดี ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้กับวัยรุ่น
ในปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นปัจจัยที่จำเป็นสำหรับชีวิตประจำวันของคนทุกวัย โดยเฉพาะวัยรุ่นเป็นกลุ่มคนที่เกิดมาในยุคดิจิทอล
จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่และสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ถูกต้องและเหมาะสมจากผู้ปกครอง
อีกทั้งครูอาจารย์จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดี และให้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารเทศอย่างถูกต้องและใช้ให้เกิดประโยชน์
เพื่อให้วัยรุ่นไทยสามารถควบคุมดูแลตนเองได้ รวมทั้งไม่ตกเป็นเครื่องมือของมิจฉาชีพที่จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการล่อลวงให้เด็กและเยาวชนหลงผิด
เสียเวลา เสียทรัพย์ เสียการเรียนและ อาจทำให้เสียอนาคตได้
นางสาวชนาธิป พึ่งดอกไม้ โทรศัพท์ 0-3422-9480 ต่อ 1171-3
เรวัติ น้อยวิจิตร hub admin rewat.noyvijit@hotmail.com 08-1910-7445
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น