วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

บันทึกความทรงจำแห่งความภาคภูมิใจ ครบรอบ ๑๑๑ ปี " คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน "







            ดร.เกษม บำรุงเวช อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ร่วมบันทึกความทรงจำแห่งความภาคภูมิใจร่วมกันในงานฉลองครบรอบ ๑๑๑ ปี จากโรงเรียนฝึกหัดครูเมืองกรุงเก่าสู่มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา









             วันที่ ๑ ก.ค. ๕๙   เวลา ๗.๓๐น. ร่วมกันทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ ๑๑๑ รูป   เวลา  ๘.๓๐น ร่วมกันปลูกต้นไม้ที่ระลึก๑๑๑ปีหน้าอาคาร๒  เวลา ๑๐.๐๐ ไปร่วมพิธีถวายราชสดุดีร.๕. และ ร.๙. และชมการแสดงกิจกรรมต่างๆเทิดพระเกีรยติที่หอประชุมมหาวิทยาลัย  เวลา  ๑๐.๐๐ ไปร่วมพิธีถวายราชสดุดี ร.๕. และ ร.๙. และชมการแสดงกิจกรรมต่างๆเทิดพระเกียรติที่หอประชุมมหาวิทยาลัย












               

             อดีตผู้บริหารฯ.  ดร.นิเชต. สุนทรพิทักษ์.รศ.ดร.บุหงา. วัฒนะ. และ รศ.สุวิทย์. เฑียรทองให้เกียรติมาร่วมงาน   คณะศิษย์เก่าอาวุโสรุ่น ฝค.อย.  วค.อย. ส.รภ.อย.  ก็ให้เกียรติมาร่วมงานจำนวนมาก  คณะอาจารย์อาวุโสและคณาจารย์ปัจจุบันรวมทั้งเจ้าหน้าที่ ศิษย์เก่า. ศิษย์ปัจจุบันมาร่วมพิธีจำนวนมากเวลาเที่ยงทุกคนไปทานอาหารกลางวันที่โรงอาหารร่วมกัน  มีภาพบรรยากาศหน้าประตูทางเข้างานในหอประชุมวันนี้













             ช่วงบ่ายมีการแสดงละครเวทีโดยคณาจารย์และอื่นๆครับไม่ได้อยู่ร่วมงาน. คุณพรทิพย์ศิษย์เก่า. เป็นเลขาสมาคมศิษย์เก่าฯ. และเป็นเป็นประธานชมรมศิษย์เก่าการพัฒนาชุมชนส่งมาใ้ห้ผมครับจึงเผยแพร่ต่อทุกๆคน
















             ขอขอบคุณทุกๆคนมากๆครับที่ช่วยกันสร้างเกียรติชื่อเสียงสถาบันแห่งเกีรยติยศและศักดิ์ศรีของพวกเราทุกคน  ผู้เข้าร่วมพิธีถวายราชสดุดีลงทะเบียนในหอประชุมจะได้รับหนังสือที่ระลึก๑๑๑ปีทุกคน





ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
      โรงเรียนฝึกหัดครู ที่หลังวังฯ คือ การตั้งต้นชีวิต วิทยาลัย ( ครูพระนครศรีอยุธยา ) ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( พ . ศ . 2411-2453) ได้มีการปฏิรูปการศึกษาขึ้น การจัดการศึกษาสมัยนี้ แตกต่างไปจากเดิมเป็นการศึกษาในระบบโรงเรียนตามแบบตะวันตก มีโรงเรียน ครู หลักสูตร แบบเรียน อันเป็น รากฐานของการศึกษาสมัยใหม่ของประเทศมาจนถึงปัจจุบัน
      ในปี พ . ศ . 2430 ได้ก่อตั้งกรมศึกษาธิการ โรงเรียนที่มีอยู่ สมัยนั้นก็ขึ้นกับกรมศึกษาธิการทั้งสิ้น และอีก 2 ปีต่อมา คือ พ . ศ . 2432 ได้ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นเพื่อรับผิดชอบใน การจัด การศึกษาโดยตรง การฝึกหัดครูของไทยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ . ศ . 2435 ซึ่งขณะนั้นการจัดการฝึกหัดครูเป็นหน้าที่ของกรมศึกษาธิการ โรงเรียนฝึกหัดครูแห่งแรกตั้งขึ้นที่บริเวณโรงเลี้ยงเด็ก สะพานดำ พระนคร เรียกว่า “ โรงเรียน ฝึกหัดอาจารย์ ” สอนระดับประโยคประถม กำหนดเวลาเรียน 2 ปี ในปีแรกมีนักเรียนเพียง 3 คน ปีต่อมานักเรียนเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จึงย้ายมาอยู่ที่ตึกแม้นนฤมิตร วัดเทพศิริน ทราวาส เมื่อปี พ . ศ . 2445 เรียกว่า “ โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์เทพศิรินทร์ ” ปี พ . ศ . 2446 ได้ขยายหลักสูตรให้สูงขึ้นถึงขั้นฝึกหัดครูมัธยม
      ในปี พ . ศ . 2446 กระทรวงธรรมการ ได้ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูขึ้นอีก แห่งหนึ่งที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยา เรียกว่า “ โรงเรียนฝึกหัดครู ฝั่งตะวันตก ” สอนตามหลักสูตรครูมูล รับนักเรียนหัวเมืองเข้าศึกษา เพื่อมุ่งหมายให้ออกไปเป็นครูตามหัวเมือง เพื่อเป็นการสะดวกแก่การที่จะขยายการศึกษาให้แพร่หลายต่อไป กระทรวงธรรมการจึงได้ดำเนินการ จัดตั้งการฝึกหัดครูในหัวเมืองขึ้นในบางมณฑลด้วย การฝึกหัดครู ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ก่อกำเนิดขึ้นในขณะที่ยังเป็นมณฑล กรุงเก่าในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเริ่มดำเนินการด้วยการตั้งเป็นโรงเรียน ชื่อว่า “ โรงเรียน ฝึกหัดครูเมืองกรุงเก่า ” เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ . ศ . 2448 ตั้งอยู่ที่หลังพระราชวังจันทรเกษม จัดสอนวิชาสามัญ อนุโลมตามหลักสูตรมัธยมศึกษา 1-2-3 แต่เพิ่มวิชาครู โดยการคัดเลือกนักเรียนตามหัวเมืองในมณฑลมาฝึกหัดเป็นครู เพื่อส่งไปโรงเรียนต่างๆ ในมณฑล ( หัวเมืองในมณฑลกรุงเก่า คือ กรุงเก่า อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี พรหมบุรี อินทร์บุรี สิงห์บุรี ) จนถึงปี พ . ศ . 2458 การฝึกหัดครูเมืองกรุงเก่า จึงเปลี่ยนแปลงระเบียบการใหม่ ตามระเบียบการฝึกหัดครูมูลหัวเมืองของกระทรวงธรรมการ การฝึกหัดครูมูล ได้ดำเนินการติดต่อกันมาจนถึงปี พ . ศ .2475 จึงยุบเลิกไปรวมเวลาที่โรงเรียนเปิดสอนหลักสูตรครูมูล ( ครู ป .) อยู่ประมาณ 27-28 ปี การก่อตั้งการฝึกหัดครูมณฑลกรุงเก่าได้รับเกียรติประวัติสูงสมฐานะ ของมณฑลเป็นที่สนใจของผู้ใหญ่ทุกชั้น อาทิ
      - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทาน พระราชทรัพย์จำนวน 30 , 000 บาท ให้กระทรวงธรรมการก่อสร้าง โรงเรียนฝึกหัดครูเมืองกรุงเก่า


โรงเรียนฝึกหัดครูเมืองกรุงเก่า

- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดี กระทรวงมหาดไทย ทรงให้การสนับสนุนการก่อสร้างโรงเรียนให้เป็นที่เรียบร้อยราบรื่น
- เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี ( ม . ร . ว . เปีย มาลากุล ) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ในครั้งนั้นยังเป็นพระยาวิสุทธิ์สุริยศักดิ์ อธิบดีกรมศึกษาธิการเห็นว่า
“ การใหญ่สำคัญของกรมศึกษาธิการก็คือ การฝึกหัดครูให้ดีแล้ว เป็นทางจริงๆ ที่จะให้การศึกษาเล่าเรียนในบ้านเมืองดำเนินสู่ทางเจริญ เพราะฉะนั้นในการที่จะสร้างและตั้งโรงเรียน ฝึกหัดอาจารย์จึงเป็นการสำคัญของกรมศึกษาธิการที่จะทำ ”
      ท่านผู้นี้ได้มาตรวจดูสถานที่ ที่จะสร้างโรงเรียนฝึกหัดครูเมืองกรุงเก่าแล้วตัดสินใจว่าจ้างสถาปนิก ชาวอิตาลีให้สร้าง โรงเรียนเป็นเงิน 30 , 000 บาท ก่อนได้รับอนุญาตจากกระทรวงธรรมการและกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เป็นเหตุให้เกิดการขุ่นเคืองถึงใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เพราะทำผิดแบบอย่าง ราชการ แต่เนื่องจากเป็นผู้ที่ทรงชอบพอรักใคร่และทรงเห็นในเจตนาที่ดีมิใช่ทำเพื่อ “ อาณาประโยชน์ของตน ” จึงพระราชทาน อภัยโทษให้ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระราชทรัพย์จำนวน 30 , 000 บาท ให้กระทรวงธรรมการ ก่อสร้างโรงเรียน
โรงเรียนนี้ได้บรรลุถึงซึ่งความเจริญเกิดประโยชน์ต่อการศึกษาของชาติมาจนถึงปัจจุบัน
      นอกจากโรงเรียนฝึกหัดครูเมืองกรุงเก่า ที่หลังพระราชวัง จันทรเกษมแล้ว ในปี พ . ศ . 2467 มณฑลกรุงเก่ายังได้จัดตั้ง โรงเรียนฝึกหัดครูมูลกสิกรรมขึ้น ที่ตำหนักเพนียดอีกแห่งหนึ่ง ทั้งนี้ เป็นนโยบาย กระทรวงธรรมการที่ให้ทุกมณฑลตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมเพื่อฝึกหัดครู กสิกรรมสอนวิชาวิสามัญ ( ให้เรียนวิชากสิกรรม ) ในชั้นประถมปีที่ 4 และชั้นประถมปีที่ 5 เพราะถ้า เอาครูมูลสามัญไปสอนก็เท่ากับเอาเป็ดขัน
      การฝึกหัดครูกสิกรรมกับการฝึกหัดครูมูลสามัญ เป็นการฝึกหัดครูในระดับเดียวกันการแยกกันเรียนคนละแห่งนั้นเนื่องจากการ ฝึกหัดครูมูลกสิกรรม
จำเป็นต้อง มีสถานที่สำหรับฝึกหัด ทำการกสิกรรมด้วยซึ่งบริเวณหลังพระราชวังจันทรเกษมไม่มี 
สถานที่พอ และไม่เหมาะสมที่จะจัดการกสิกรรมอีกทั้งยังจอแจ แออัดด้วยนักเรียนชั้นประถม นักเรียนชั้นมัธยมที่มากขึ้นด้วย
ดังนั้นในปี พ . ศ . 2475 จึงได้ยุบเลิกแผนกฝึกหัดครูมูลสามัญ ที่โรงเรียนตัวอย่างมณฑลกรุงเก่า
( โรงเรียนฝึกหัดครูเมืองกรุงเก่า ) การฝึกหัดครูจึงรวมอยู่ในโรงเรียนฝึกหัดครูมูลตำหนักเพนียดแห่งเดียว

โรงเรียนฝึกหัดครูมูลกสิกรรม ที่เพนียดคล้องช้าง

พัฒนาการ “ สร้างความเป็นครู ” จากโรงเรียนฝึกหัดครูเมืองกรุงเก่า สู่สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ก . สถานภาพของโรงเรียนฝึกหัดครูมูลตำหนักเพนียดภายหลังการยุบเลิกมณฑล พ . ศ . 2476 ทางราชการ ได้ยุบเลิกมณฑลต่างๆ โรงเรียนฝึกหัดครูมูลตำหนักเพนียดจึงมีฐานะ เป็นโรงเรียนฝึกหัดครูมูลประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้ชื่อโรงเรียน ว่า โรงเรียนฝึกหัดครูมูลฝึกหัดครูประกาศนียบัตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังคงสอนตามหลักสูตรครูมูลกสิกรรม พ . ศ . 2467 ตามเดิม
ข . การย้ายสถานที่ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูมูล ฝึกหัดครูประกาศนียบัตร จังหวัดและการเปลี่ยนชื่อโรงเรียน
พ . ศ . 2479 ทางราชการเห็นสมควรให้ย้ายโรงเรียนฝึกหัดครูมูล ฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดจากตำหนักเพนียด ไปอยู่ในกรมทหาร หัวแหลม เพราะมีอาคารว่างอยู่เป็นจำนวนมาก และมีบริเวณกว้างขวาง เหมาะในการฝึกหัดทำการกสิกรรม โดยแยกเป็นสองโรงเรียนคือ โรงเรียน ฝึกหัดครูชายและโรงเรียนฝึกหัดครูสตรี และให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียน เป็น โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และโรงเรียน ฝึกหัดครูสตรีประกาศนียบัตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดทำการสอน เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ . ศ . 2479 และมีการเปลี่ยนแปลงระเบียบการฝึกหัดครูใหม่ดังนี้
1. โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรประเภท ข ( กินนอนประจำ ) แผนกเกษตรกรรม
2. รับนักเรียนที่เรียนจบชั้นประถมศึกษาบริบูรณ์ เข้าเรียนต่ออีก 2 ปี เมื่อสอบไล่ได้ชั้นปีที่ 2 แล้วจะได้รับประกาศนียบัตรจังหวัด ( ครู ว .)
3. รับครูประชาบาลที่ยังไม่มีวุฒิครู เข้ารับการอบรมอีก 1 ปี จบการอบรมแล้วจะได้รับประกาศนียบัตรครูประชาบาล ( ครู ป . บ .) เมื่อเปิด เรียนวันที่ 1 มิถุนายน พ . ศ . 2479 มีนักเรียนประภทในบำรุง ( รัฐบาล อุดหนุน ) 30 คน ประเภทนอกบำรุง ( ทุนส่วนตัว ) 40 คน และมีครูประชาบาลที่ยังไม่มีวุฒิครูมาเข้าอบรมเพิ่มเติม 39 คน รวมทั้งสิ้น 109 คน
      สิ้นปีการศึกษา 2479 ครูประชาบาลที่เข้ามาอบรม จบ การอบรม ได้วุฒิ ป . บ . ออกไปเป็นครู ตามโรงเรียนเดิมที่ตนสังกัดอยู่ 39 คน และสิ้นปีการศึกษา 2480 นักเรียนฝึกหัดครู 79 คน สอบไล่ได้ สำเร็จการศึกษาได้วุฒิ ครู ว . ออกไปเป็นครูประชาบาลตามสังกัดภูมิลำเนาเดิมของตน
      การผลิตครูทั้ง 2 ระดับ ( ครู ว . และครู ป . บ .) มีวุฒิต่ำกว่าครูมูล ( ครู ป .) แต่จำเป็นต้องทำ ทั้งนี้เพราะมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งผลิตครูให้ออกไปสอนในโรงเรียนชนบท ซึ่งยังขาดแคลนครูอยู่อย่างมาก ( เนื่องจาก พ . ร . บ . ประถมศึกษา ซึ่งประกาศใช้เมื่อ พ . ศ . 2464 มีผล บังคับใช้ทุกตำบลในประเทศไทย ในปี พ . ศ . 2478) ปรากฏว่า นักเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำเร็จออกไปเป็นครูตั้งแต่ปี พ . ศ . 2480-2482 มีจำนวนถึง 307 คน


โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดหญิง

      ชาวอยุธยาชอบเรียกโรงเรียนฝึกหัดครู ประกาศนียบัตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยาว่า ” โรงเรียนประกาด ” หรือ “ โรงเรียน ผักกาด ” เพราะโรงเรียนนี้เป็นการฝึกหัดครูแผนกเกษตรกรรม นักเรียนทุกคนต้องทำแปลงขนาด 1 X 4 เมตร คนละ 4 แปลง ปลูกผักตลอดทั้งปี
ค . การย้ายสถานที่ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และการเปลี่ยนชื่อโรงเรียน
พ . ศ . 2484 รัฐบาลมีนโยบายจะปรับปรุงการทำสุราและเมรัย จำหน่ายแก่ประชาชน นายปรีดี พนมยงค์ ( หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ) เป็นรัฐมนตรีกระทรวงการคลังรับผิดชอบในเรื่องนี้ จึงขอ เอาโรงงานต้มกลั่นสุราและเมรัยมาตั้งในจังหวัดนี้โรงหนึ่ง เพื่อความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ ของบ้านเกิดของท่าน โดยเอามาตั้งที่กรมทหารเก่า เพราะเป็นสถานที่ที่มีความเหมาะสมที่สุด ขณะเดียวกันท่านก็คำนึงถึงความเจริญในด้านการศึกษาของ จังหวัดเป็นอย่างยิ่ง กระทรวงการคลังจึงอนุมัติให้จ่ายเงินทุน ปรับปรุงสรรพสามิต จำนวน 2 แสนบาท เป็นค่าชดเชยให้ไปสร้างโรงเรียน 5 โรงเรียน ที่ต้องย้ายออกจากกรมทหาร โรงเรียน ฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงได้ย้าย ไปสร้างอยู่ในที่ราชพัสดุติดกับวัดวรโพธิ์ ( ตรงที่เป็นโรงเรียน ประตูชัยปัจจุบัน ) ในเนื้อที่ประมาณ 21 ไร่ ส่วนโรงเรียนฝึกหัดครูสตรีย้ายไปอยู่ที่ตำบลหอรัตนไชย อำเภอพระนครศรีอยุธยา เนื้อที่ประมาณ 14 ไร่
พ . ศ . 2491 โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัด พระนครศรีอยุธยา ได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนฝึกหัดครู พระนครศรีอยุธยา การจัดการศึกษาของโรงเรียนได้มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบการผลิตครู ดังนี้
1. หลักสูตร ครู ว . เปลี่ยนระเบียบใหม่ โดยรับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เข้าเรียนต่ออีก 2 ปี ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี พ . ศ . 2482-2492
2. หลักสูตร ครู ป . บ . ก็เปลี่ยนแปลงระเบียบใหม่เช่นกัน คือ รับนักเรียนที่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เข้าเรียนต่ออีก 3 ปี ตั้งแต่ พ . ศ . 2490
3. หลักสูตรครูมูล ครู ป . นั้น โรงเรียนได้กลับมาเปิดสอน หลักสูตรนี้อีกระยะหนึ่งโดยรับนักเรียนที่สำเร็จมัธยมศึกษา ปีที่ 6 เข้าเรียนต่ออีก 1 ปี ตั้งแต่ พ . ศ . 2490-2497
โรงเรียนฝึกหัดครูพระนครศรีอยุธยา จึงเริ่มใช้ระบบการฝึกหัดครู แบบ 2-2-2 ของกรมการฝึกหัดครู ตั้งแต่ปีการศึกษา 2498 เป็นต้นมา การเรียน การสอน การวัดผล เปลี่ยนแปลงใหม่ ใช้ระบบหน่วยกิต
โรงเรียนฝึกหัดครูพระนครศรีอยุธยา เริ่มต้นผลิตครู ป . กศ . ในปี พ . ศ . 2498 โดยรับนักเรียนที่เรียนจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้าเรียนต่อ 2 ปี โรงเรียนยังคงตั้งอยู่ที่เดิม จนถึงปี พ . ศ . 2509 จึงได้ย้ายสถานที่ตั้งใหม่


โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดชาย

ง . การย้ายสถานที่ตั้ง และการยกฐานะเป็นวิทยาลัยครู พระนครศรีอยุธยา
พ . ศ . 2509 โรงเรียนฝึกหัดครูพระนครศรีอยุธยาได้ย้ายมาตั้งอยู่ ณ ที่ปัจจุบัน เลขที่ 96 ถนนโรจนะ มีเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่เศษ ( กรมการฝึกหัดครู ได้เจรจาตกลงขอแลกเปลี่ยนสถานที่กับกรมสามัญ จึงให้โรงเรียนประตูชัยของกรมสามัญซึ่งตั้งอยู่ ณ ที่นี้ ย้ายไปตั้งอยู่ ณ ที่ตั้งของโรงเรียนฝึกหัดครูพระนครศรีอยุธยา ) ในปีนี้โรงเรียนได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยาด้วย
พ . ศ . 2511 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศรวมโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูพระนครศรีอยุธยา เข้ากับวิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา
พ . ศ . 2517 เริ่มเปิดสอนถึงระดับปริญญาตรี ( ค . บ .) หลักสูตร 2 ปี จากผู้มีวุฒิ ป . กศ . สูง ป . ม . หรือ พ . ม . โดยเปิดสอนในปีแรกนี้ 2 สาขา คือ
สาขาประถมศึกษา ( วิชาเอกภาษาไทย ) และสาขามัธยมศึกษา ( วิชาเอกฟิสิกส์ )
พ . ศ . 2519 เริ่มใช้หลักสูตรสภาการฝึกหัดครู
พ . ศ . 2519 เปิดสอนระดับ ป . กศ . สูง หลักสูตร 2 ปี จากผู้มีวุฒิเดิม ป . กศ . ป . ป . ม . ศ . 5 และเปิดสอนระดับปริญญาตรี ( ค . บ .) หลักสูตร 2 ปี จากผู้มีวุฒิเดิม ป . กศ . สูง ป . วส . ป . ม . และ พ . ม .
พ . ศ . 2523 เปิดสอนระดับปริญญา ( ค . บ .) หลักสูตร 4 ปี รับจากผู้มีวุฒิเดิม ม . ศ .5 ป . กศ . และ ป . ป .
พ . ศ . 2524 เริ่มใช้หลักสูตรสภาการฝึกหัดครู พ . ศ . 2524 เปิดสอน ระดับปริญญาตรี ( ค . บ .) หลักสูตร 4 ปี รับจากผู้มีวุฒิเดิม ม . ศ .5 , ป . กศ . และ ป . ป .
พ . ศ . 2526 เปิดรับนักศึกษา ป . กศ . สูง เทคนิคการอาชีพ เพิ่มเติม 6 วิชาเอก หลักสูตรนี้เปิดสอนถึงปีการศึกษา 2527 เป็นปีสุดท้าย
พ . ศ . 2528 เริ่มเปิดหลักสูตรสาขาวิชาการอื่นๆ นอกเหนือจากสาขาวิชาชีพครู โดยเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต และศิลปศาสตรบัณฑิตพร้อมกับระดับอนุปริญญา ขณะเดียวกันก็ยังคงเปิดหลักสูตรสาขาวิชาชีพครู ครุศาสตรบัณฑิต ทั้งระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี และ 2 ปี ไปพร้อมๆกัน
วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยาโชคดีได้รับมรดกทางด้าน วิทยาการ การฝึกหัดครู มาตั้งแต่สมัยเป็นมณฑลกรุงเก่า นับว่าเป็นมรดกที่มีค่า มีความหมายสำหรับวิทยาลัย ที่มีหน้าที่ “ สร้างความเป็นครู ” ให้กับสังคมไทยตลอดมา
จ . ระยะทาง 90 ปี จากโรงเรียนฝึกหัดครูเมืองกรุงเก่า สู่สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
พ . ศ . 2538 … เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของวิทยาลัยครูทั่วประเทศ คือ มีการปรับเปลี่ยน พ . ร . บ . วิทยาลัยครู เป็น พ . ร . บ . สถาบันราชภัฏ พ . ศ . 2538 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ . ศ . 2538 วิทยาลัยครูทั่วประเทศมีอยู่ทั้งสิ้น 36 แห่ง ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันราชภัฏ วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา เปลี่ยนมาเป็นสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มีพิธีทำบุญครบรอบ 90 ปี สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา และพิธีเปิดป้ายสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ . ศ . 2538 โดย ดร . นิเชต สุนทรพิทักษ์ เลขาธิการสภาสถาบัน ราชภัฏเป็นประธาน


วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทรสยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนาม “ ราชภัฏ ” และตรา หรือสัญลักษณ์ “ ราชภัฏ ” นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณและเกียรติยศสูงสุดแก่ชาวสถาบันราชภัฏทั่วพระราชอาณาจักร
นาม “ ราชภัฏ ” หมายความว่าเป็นปราชญ์ของพระราชา
ตราสัญลักษณ์ราชภัฏ พิจารณา จากดวงตราพระราช ลัญจกร ประจำพระองค์รัชกาลปัจจุบันเพื่อกำหนดรูปแบบสัญลักษณ์ สถาบันราชภัฏ และได้รับพระราชทานมาเป็นตราประจำ สถาบันราชภัฏทั่วพระราชอาณาจักร ซึ่งมีรายละเอียดที่สมควร นำมากล่าวถึงไว้ ณ ที่นี้คือ
- เป็นรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้ให้ กำเนิดสถาบัน
- เป็นรูปแบบที่เป็นกลาง เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นที่ตั้ง ธรรมชาติ และความสอดคล้องกับชื่อสถาบันราชภัฏที่ได้รับพระราชทาน
- สีของสัญลักษณ์ ประกอบด้วยสีต่างๆ จำนวน 5 สี
สีน้ำเงิน แทน ค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และ พระราชทานนาม “ สถาบันราชภัฏ ”
สีเขียว แทน แหล่งที่ตั้งของสถาบันทั้ง 36 แห่งในแหล่งธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
สีทอง แทน ความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
สีส้ม แทน ค่าความเจริญรุ่งเรืองของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ก้าวไกลใน 36 แห่ง
สีขาว แทน ค่าความคิดบริสุทธิ์ของนักปราชญ์ แห่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ฉ . จากสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา สู่มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา
พ . ศ . 2547 สถาบันราชภัฏได้มีการปรับเปลี่ยน พ . ร . บ . สถาบันราชภัฏ พ . ศ . 2538 เป็น พ . ร . บ . มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ . ศ . 2547 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ . ศ . 2547 สถาบันราชภัฏทั่วประเทศที่มีอยู่ทั้งสิ้น 41 แห่ง ทั่วประเทศได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยมีสถานภาพ เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จึงเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยานับแต่นั้นมา และได้มีพิธีเปิดป้าย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ . ศ . 2547 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายสมศักดิ์ แก้วสุทธิ เป็น ประธานในพิธีเปิด
สรุป
      ปีนี้เป็นปีที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ก้าวเข้าสู่การครบรอบ ถือกำเนิดมาครบ 111 ปี ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ตลอดระยะทาง 110 ปี ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยานั้น ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสถาบันการศึกษาอันเป็น ที่รักของเราแห่งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งตลอดมา ด้วยมิติของกาลเวลา และสถานที่ตั้ง ทั้งในระดับของท้องถิ่นภิวัตน์ ( Localization) และโลกาภิวัตน์ ( Globalization) ในนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา อันเป็น มรดกโลกด้านวัฒนธรรม เราจึงรู้สึกซาบซึ้งเป็นอย่างดี ในคำที่ท่านกล่าวว่า
“ มีราชภัฏได้ เพราะมีวิทยาลัยครู มีวิทยาลัยครูได้ เพราะมีโรงเรียนฝึกหัดครู เป็นสัจธรรมที่ว่ามีวันนี้ได้ เพราะมีเมื่อวาน ” และนับแต่นี้ต่อไป คงเป็นเรื่องที่พวกเราชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาทุกคนจะต้อง พิสูจน์ตัวเองว่า
มหาวิทยาลัยของเรา จะมีบทบาท ต่อชุมชนท้องถิ่น ต่อประเทศชาติอย่างไร ท่ามกลางการจับจ้อง และตรวจสอบจากทุกภาคส่วนของสังคม








ขอบคุณภาพข่าว  จาก อ.มงคล ชาวเรือ ที่ปรึกษาฯสมาคมศิษย์เก่าฯ
 เรวัติ น้อยวิจิตร  นสพ.พลังชน   rewat.noyvijit@hotmail.com  08-1910-7445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น