อดีต .. สู่ ปัจจุบัน ในการรบสมัยโบราณ หลาย คนอาจมองอาวุธ “ธนู” ไม่เท่เท่ากับดาบ หรือทวน เพราะเป็นอาวุธยิงไกล ไม่ทันเท่าอาวุธระยะประชิด ความรุนแรงต่ำ อย่างไรก็ตามอดีตที่ผ่านมา มีหลายศึกที่แสดงให้เห็นว่า “ธนู” เป็นอาวุธที่สามารถเปลี่ยนสถานการณ์การรบได้เท่ อย่างหล่อ บางศึกก็เปลี่ยนจากผู้พ่ายแพ้มาเป็นผู้ชนะได้
สิ่ง ที่กองทัพมองโกล เป็นกองทัพน่ากลัวที่สุดในเวลานั้นก็คือ มองโกลเป็นนักธนูมือฉมัง จากบันทึกได้ระบุว่า ทหารมองโกลสามารถยิงธนูแต่ละนัดไปได้ไกลถึง 500 เมตร (ครึ่งกิโล) ซึ่งเป็นระยะไกลและความเร็วพอๆ กับปืนเล็กที่ใช้ทุกวันนี้ อีก ทั้งทั้งยังมีพลังอำนาจทำลายสูงสามารถเจาะทะลวงและยึดคาร่างศัตรูชนิดดึงไม่ ออก อีกทั้งยังทะลุเกราะศัตรูแม้จะเกราะหนาขนาดไหนก็ตาม และที่น่ากลัวก็คือมองโกลยิงธนูแม่นมากทั้งๆ ที่อยู่บนหลังม้าตลอดเวลา
ในปัจจุบัน สมาคมยิงธนูแห่งประเทศไทย มุ่งมั่นที่จะฝึกนักกีฬายิงธนู ของประเทศไทย เข้าร่วมชิงชัย ในกีฬา ระดับเอเซีย และ โอลิมปิค
การแข่งขันยิงธนูชิงแชมป์เอเชียและคัดเลือกโอลิมปิกเกมส์ ประเภทคันธนูโค้งกลับชาย โดยมีนักกีฬาไทยลงสนาม 4 คนประกอบด้วย วิทยา ทำว่อง,นัฐภูมิ ภู่สวัสดิ์,คมกฤษณ์ ดวงสุวรรณ และอิศรินทร์ ไทยเอื้อ ปรากฏว่า โรบินฮูดหนุ่มไทย ผ่านเข้ารอบน็อกเอาท์ได้สำเร็จ นอกจากนี้ นัฐภูมิ ภู่สวัสดิ์,วิทยา ทำว่องและ คมกฤษณ์ ดวงสุวรรณ ได้สิทธิ์เข้าแข่งขันคัดเลือกโอลิมปิก ในปลายปีที่ผ่านมา อีกด้วย
อีกทั้ง การฝึกฝนเยาวชน ที่มีใจรักด้านกีฬายิงธนู เพื่อการสร้างกล้ามเนื้อร่างกายให้แข็งแรง รวมทั้งการเสริมสร้างทักษะ ให้เกิดความชำนาญ ด้านการยิงธนู อีกด้วย
สนามยิงธนู Buffalo Bow สุพรรณบุรี อยู่ริมถนนคลองส่งน้ำ ไฝ่ขวาง ด้านทิศเหนือ เลยร้านอาหารขนาบน้ำ ไปเล็กน้อย ตำบลสนามชัย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี โทร 086-7653444
ยิงธนูน่าสนใจกว่าที่ใครๆคิด
ประโยชน์ที่ได้รับจากกีฬายิงธนู
กีฬาเกือบทุกประเภทจะมีประโยชน์ด้วยกันทั้งนั้น แต่ที่สำคัญผู้เล่นจะต้องเล่นอย่างถูกวิธีและทำการฝึกซ้อมกันอย่างสม่ำเสมอคุณก็จะได้รบประโยชน์กันอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะใครที่ต้องการเล่นกีฬาเพื่อเป็นเกมส์ในการแข่งขันการฝึกซ้อมจะเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยทำให้คุณประสบความสำเร็จในการเล่นกีฬาประเภทนั้นๆ อย่างเช่นนักกีฬาที่มีชื่อเสียงหลายคน ก็มักจะบอกเคล็ดลับของความสำเร็จเหมือนๆ กันก็คือความมุมานะ ขยันและอดทนในการฝึกซ้อมอย่างไม่ย่อท้อ และสำหรับในกีฬายิงธนูก็เป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งที่ให้ประโยชน์หลายอย่างแก่ผู้เล่น เช่น
1. ช่วยในเรื่องของสมาธิ เพราะผู้เล่นจะต้องเป็นผู้ที่มีสมาธิดีไม่วอกแหวก ถึงจะสามารถยิงลูกธนูได้อย่างแม่นยำ
2. ช่วยทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อตามส่วนต่างๆ เช่น กล้ามเนื้อหัวไหล่ แขน หน้าอก และหน้าท้อง เป็นต้น
3. นักกีฬายิงธนูจะมีปอดที่แข็งแรง เพราะการยิงจะต้องอาศัยจังหวะของการหายใจควบคู่กันไปด้วยในระหว่างการฝึกซ้อมและการแข่งขัน การหายใจที่ถูกต้องยังส่งผลช่วยทำให้การยิงลูกธนูแม่นยำ ดังนั้นถ้าอยากยิงธนูให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีนักกีฬาควรฝึกการหายใจไปพร้อมๆ กับการฝึกซ้อม แต่ก็ควรได้รับคำแนะนำจากครูผู้ฝึกสอนหรือโค้ช โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุที่สนใจในกีฬาประเภทนี้
4. ทำให้เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ ขยัน และอดทน เพราะถ้าจะเล่นกีฬาให้ผลดีสิ่งสำคัญที่สุดก็คือการฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ
5. ทำให้เป็นผู้ที่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้จักแพ้ ชนะ และการให้อภัย การเล่นกีฬาเกือบทุกประเภทจะมีประโยชน์ที่ช่วยให้ผู้เล่นมีน้ำใจเป็นนักกีฬา และมีความเอื้อเฟื้อเพื่อแผ่อดทนอดกลั้นได้เป็นอย่างดี
6. เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ สำหรับเด็กๆ และเยาวชน การเล่นกีฬาไม่ว่าประเภทไหนก็แล้วแต่ยังมีส่วนช่วยให้ห่างไกลจากอบายมุขและยาเสพติดได้เป็นอย่างดี
กฎและกติกาการยิงธนู
กฎสำคัญที่สุดในการยิงธนู คือ กฎแห่งความปลอดภัย การยิงธนูเป็นกีฬาที่อาจสร้างอันตรายให้กับคนอื่น ๆ ได้ หากขาดการระมัดระวังและประมาทในการเล่น ดังนั้นผู้เล่นจึงต้องยึดกฎแห่งความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด ก่อนทีจะยิงธนูทุกครั้งต้องแน่ใจว่าบริเวณเป้า และด้านหลังเป้าปลอดภัย ไม่มีคน สัตว์หรือสิ่งของอยู่ใกล้เกะกะ จึงจะปล่อยลูกออกไป
- พึงรักษากฎแห่งความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด ระลึกเสมอว่า ธนูเป็นอาวุธ ที่ใช้ในการกีฬาเท่านั้น ลูกธนูที่ยิงออกไปก่อให้เกิดอันตรายได้หากผู้ยิงขาดความระมัดระวัง
- ในขณะที่รอจะเข้าเส้นยิง หรือช่วยดูตำแหน่งลูกธนูให้กับนักยิงธนูผู้อื่นขณะทำการยิงให้อยูู่่ด้านหลังของผู้ยิง หรือบนเส้นยิง เมื่อทุกคนยิงเสร็จแล้วจึงจะเดินไปที่เป้าได้
- เก็บลูกธนูไว้ในซองลูกธนูในซองลูกธนูจนกว่าจะเข้าเส้นยิงและถึงเวลายิง
- อย่าปล่อยลูกธนูออกไปจนกว่าจะเห็นเป้าหมายชัดเจน และแน่ใจว่าบริเวณใกล้เคียงหรือด้านหลังของเป้าปลอดภัย
- อย่าพยายามแสดงความสามารถด้วยการใช้ผู้อื่นเป็นเป้า หรือให้ผู้อื่นถือเป้าที่จะยิง
- อย่าปล่อยลูกธนูออกไปถ้าไม่สามารถเห็นตำแหน่งที่ลูกธนูจะ ไปตก อย่ายิงธนูระยะไกลที่เป็นป่าไม่ อย่ายิงธนูขึ้นฟ้าตรง ๆ
- อย่าใช้ลูกธนูที่ชำรุด ตรวจดูลูกธนูแต่ละลูกโดยละเอียดในขณะเก็บลูก
- อย่าขึ้นคันธนูผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตและห้ามน้าวสาย ธนูไม่ว่ากรณีใด ๆ อย่าแตะต้องอุปกรณ์ยิงของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
- อย่าสวมรองเท้าแตะหรือไม่สวมรองเท้าเดินในสนามยิงธนู
- ช่วยเหลือเพื่อนนักยิงธนูและกีฬายิงธนู
ความเป็นมาของกีฬายิงธนูในประเทศไทย
ในแหล่งสำรวจทางโบราณคดีในเมืองไทยมีการค้นพบหัวลูกธนูหินกะเทาะจากยุคหินใหม่ เช่น ในจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี ลพบุรี และขอนแก่น
สมัยโยนกนาคพันธ์ (พ.ศ. 638 – 1551) ที่ชนชาวไทยมาตั้งหลักแหล่งในสุวรรณภูมิก็นำธนูมาใช้เช่นเดีบวกับเมื่อตอนที่อยู่ในอาณาจักรน่านเจ้า สิบสองจุไทยและสิบสองปันนา (พ.ศ. 1193 – 1823) ซึ่งก็ยากที่จะหาอะไรมายืนยัน นอกจากตำนานเมืองเหนือที่มหาราชองค์แรกของไทย พระเจ้าพรหมมหาราชยึดเมืองโยนกเชียงแสนคืนจากขแมดำ (พ.ศ. 1479) ด้วยพลธนูไฟ
ในนครวัดมีรูปแกะสลักบนแผ่นหินตามผนังระเบียง ที่สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724 – 1762) ของขแม แสดงภาพแม่ทัพชนชาวไทยที่กำลังถือคันธนูในท่าทีพร้อมจะยิงอยู่บนหลังช้างนำทัพไทยกับละโว้ร่วรบให้กับขแมสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1656 – 1695) ที่ยกไปตีอาณาจักรจามปาได้เมื่อ พ.ศ. 1688 ซึ่งใช้ธนูกันมาในสมัยต่อมาจนถึงสมัยสุโขทัยและอยุธยา
เมื่อตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1891 – 2310) หนานทิพย์ช้าง พรานที่มีความชำนาญทั้งการใช้ธนูและอาวุธปืน อาสาเป็นผู้นำไปฆ่าแม่ทัพและขจัดอำนาจการยึดครองของพม่า ให้พ้นจากนครลำปางได้รับสถาปนาเป็น พระยาสุวลือไชยสงคราม ครองนครลำปางเมื่อ (พ.ศ. 2275) เริ่มต้นราชวงศ์จ้าวฝ่ายเหนือ
เมื่อปืนเข้ามาแทนที่ ธนูคงลดน้อยลงในสมัยรัตนโกสิน (พ.ศ. 2325 – ปัจจุบัน) ที่พอจะเห็นได้คือ คันกระสุน (คันธนูที่ยิงด้วยลูกดิน / ลูกหิน) เท่านั้น ส่วนทางภาคเหนือของประเทศไทยยังมีชาวไทยภูเขาใช้หน้าไม้ที่มีปีกเป็นไม้จจริงและปลีกไม้เป็นไม้ไผ่เป็นอาวุธล่าสัตว์ในที่ห่างไกล
ตามชานเมืองและในชนบทที่มีต้นไผ่หรือไม้รวก เด็กๆ ก็จะทำคันธนูและลูกธนูมาเล่น ประมาณ พ.ศ. 2498 ห้างแสงอรุณนำเข้าคันธนูไม้ไผ่และลูกธนูไม้รวกจากญี่ปุ่น เช่นเดียวกับห้างไนติ้งเกลโอลิมปิค ก็สั่งคันธนูไม้จากอังกฤษเข้ามาขายในกรุงเทพฯ จึงมีการนำมาใช้ร่วมกันกับอุปกรณ์ธนูทำเอง เพื่อการกีฬา
ในช่วงเวลาต่อมามีนักกีฬายิงปืนชั้นนำ 3 ท่าน ในชมรมยิงปืนกรมการรักษาดินแดน มองเห็นส่วนที่คล้ายคลึงกันของความประณีตละเอียดอ่อนในการตั้งสติก่อนการยิงซึ่งต้องอาศัยความสามารถและเทคนิคส่วนบุคคลประกอบกันอยู่ในกีฬายิงธนูซึ่งไม่ต่างกับกีฬายิงปืน ซึ่งสามารถพัฒนาให้เป็นกีฬาระดับชาติต่อไป ด้วยการจัดสนามยิงธนูขึ้นในสนามยิงปืนและตั้งกลุ่มนักกีฬายิงธนูที่ใช้อุปกรณ์ธนูที่หาได้หรือสั่งเข้ามาพร้อมทั้งแนะนำเทคนิคการยิงที่ถูกต้องแก่ผู้ที่ให้ความสนใจทั้งนี้ด้วยความอุปถัมภ์สถานที่ของท่านเจ้ากรมฯ ร.ด. ในเวลาเดียวกันก็สมัครเป็นสมาชิกของ (N.A.A. of USA) เพื่อรับทราบความก้าวหน้าและเทคนิคของการยิงธนูระหว่างประเทศ
จุดผันแปรที่สำคัญของกีฬายิงธนูในประเทศไทยมาถึงเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2512 ที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชวชิราลงกรณ์มงกุฎราชกุมารเสด็จเยี่ยมกรมการรักษาดินแดนและได้ทรงธนู ซึ่งสร้างให้เกิดความสนใจในกีฬายิงธนูเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง จึงมีการจัดสนามยิงธนูกลางแจ้งขึ้นในสถานที่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (EGAT) และเป็นจุดเริ่มต้นของการแข่งขันกีฬายิงธนูอย่างเป็นระบบ มีการจัดการแข่งขันแบบเย้าเยือนกับเจ้าหน้าที่ (U.S.A.I.D.) และพนักงานโครงการแม่น้ำโขงในประเทศลาว ซึ่งเป็นสมาชิกสมาคมยิงธนูสหรัฐเช่นกัน เพื่อพัฒนาการแข่งขันกีฬายิงธนูระหว่างประเทศ
ในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 กลุ่มนักกีฬายิงธนูไทยก็ได้รับกาจดทะเบียนสมาคมเป็นทางการว่า “สมาคมกีฬายิงธนูแห่งประเทศไทย” โดยมีที่ตั้งสมาคมอยู่ที่สนามยิงปืนกรมการรักษาดินแดนและสนามยิงธนูในร่มอยู่ที่ชั้นล่างของอาคารยิมเนเซี่ยม 1 ภายในบริเวณสนามกีฬาแห่งชาจิ สมาคมยังได้สมัครเป็นสมาชิกของคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทสไทยและสมาชิกของสหพันธ์กีฬายิงธนูสากล (FITA) ซึ่งตอบรับมาเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2514 พร้อมการตอบรับของคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยในปีเดียวกัน ตั้งแต่นั้นมาสมาคมกีฬายิงธนูแห่งประเทศไทยได้พัฒนาเทคนิคในการยิงธนูให้แก่สมาคมโดยผ่านทางฟีต้าและผ่านทางการติดต่อระหว่างประเทศโดยตรง
ในปี พ.ศ. 2518 สมาคมยิงธนูร่วมสมาคมยิงปืนเป็นสมาคมกีฬากลุ่มที่ 2 ของไทยที่มีโอกาสได้รับเชิญไปกระชับความสัมพันธ์ทางด้านกีฬากับสาธารณรัฐประชาชนจีนนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 การเชิญประกอบด้วยการแข่งขันกีฬายิงธนูระบบกลางแจ้งที่เมืองเซี่ยงไฮ้และการแข่งขันกีฬายิงธนูระบบในร่ม ที่กรุงปักกิ่งโดยเป็นการแนะนำกีฬายิงธนูระบบในร่มให้กับสาธารณรัฐประชาชนจีน
ปี พ.ศ. 2520 เป็นปีแรกที่รวมกีฬายิงธนูเข้าไว้ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 9 ที่ประเทศมาเลเซียและในกรแข่งขันกีฬาเอเซี่ยนเกมส์ครั้งที่ 8 เมื่อปี พ.ศ. 2521 ในประเทศไทย ผลจากการพัฒนาด้านกีฬายิงธนูระหว่างประเทศในประเทศไทยได้ดังนี้
การแข่งขันกีฬาเอเซี่ยนเกมส์ 2 ครั้ง กีฬายิงธนูเอเชี่ยนคับส์ / ชิงแชมป์ 1 ครั้ง การแข่งขันซีเกมส์ 4 ครั้ง กีฬายิงธนูมหาวิทยาลัยชิงแชมป์โลก 1 ครั้ง และการแข่งขันกีฬายิงธนูเอเชี่ยนกรังปรีประจำปีจนถึงปัจจุบัน 2011 (33 ครั้ง)
ในนครวัดมีรูปแกะสลักบนแผ่นหินตามผนังระเบียง ที่สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724 – 1762) ของขแม แสดงภาพแม่ทัพชนชาวไทยที่กำลังถือคันธนูในท่าทีพร้อมจะยิงอยู่บนหลังช้างนำทัพไทยกับละโว้ร่วรบให้กับขแมสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1656 – 1695) ที่ยกไปตีอาณาจักรจามปาได้เมื่อ พ.ศ. 1688 ซึ่งใช้ธนูกันมาในสมัยต่อมาจนถึงสมัยสุโขทัยและอยุธยา
เมื่อตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1891 – 2310) หนานทิพย์ช้าง พรานที่มีความชำนาญทั้งการใช้ธนูและอาวุธปืน อาสาเป็นผู้นำไปฆ่าแม่ทัพและขจัดอำนาจการยึดครองของพม่า ให้พ้นจากนครลำปางได้รับสถาปนาเป็น พระยาสุวลือไชยสงคราม ครองนครลำปางเมื่อ (พ.ศ. 2275) เริ่มต้นราชวงศ์จ้าวฝ่ายเหนือ
เมื่อปืนเข้ามาแทนที่ ธนูคงลดน้อยลงในสมัยรัตนโกสิน (พ.ศ. 2325 – ปัจจุบัน) ที่พอจะเห็นได้คือ คันกระสุน (คันธนูที่ยิงด้วยลูกดิน / ลูกหิน) เท่านั้น ส่วนทางภาคเหนือของประเทศไทยยังมีชาวไทยภูเขาใช้หน้าไม้ที่มีปีกเป็นไม้จจริงและปลีกไม้เป็นไม้ไผ่เป็นอาวุธล่าสัตว์ในที่ห่างไกล
ตามชานเมืองและในชนบทที่มีต้นไผ่หรือไม้รวก เด็กๆ ก็จะทำคันธนูและลูกธนูมาเล่น ประมาณ พ.ศ. 2498 ห้างแสงอรุณนำเข้าคันธนูไม้ไผ่และลูกธนูไม้รวกจากญี่ปุ่น เช่นเดียวกับห้างไนติ้งเกลโอลิมปิค ก็สั่งคันธนูไม้จากอังกฤษเข้ามาขายในกรุงเทพฯ จึงมีการนำมาใช้ร่วมกันกับอุปกรณ์ธนูทำเอง เพื่อการกีฬา
ในช่วงเวลาต่อมามีนักกีฬายิงปืนชั้นนำ 3 ท่าน ในชมรมยิงปืนกรมการรักษาดินแดน มองเห็นส่วนที่คล้ายคลึงกันของความประณีตละเอียดอ่อนในการตั้งสติก่อนการยิงซึ่งต้องอาศัยความสามารถและเทคนิคส่วนบุคคลประกอบกันอยู่ในกีฬายิงธนูซึ่งไม่ต่างกับกีฬายิงปืน ซึ่งสามารถพัฒนาให้เป็นกีฬาระดับชาติต่อไป ด้วยการจัดสนามยิงธนูขึ้นในสนามยิงปืนและตั้งกลุ่มนักกีฬายิงธนูที่ใช้อุปกรณ์ธนูที่หาได้หรือสั่งเข้ามาพร้อมทั้งแนะนำเทคนิคการยิงที่ถูกต้องแก่ผู้ที่ให้ความสนใจทั้งนี้ด้วยความอุปถัมภ์สถานที่ของท่านเจ้ากรมฯ ร.ด. ในเวลาเดียวกันก็สมัครเป็นสมาชิกของ (N.A.A. of USA) เพื่อรับทราบความก้าวหน้าและเทคนิคของการยิงธนูระหว่างประเทศ
จุดผันแปรที่สำคัญของกีฬายิงธนูในประเทศไทยมาถึงเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2512 ที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชวชิราลงกรณ์มงกุฎราชกุมารเสด็จเยี่ยมกรมการรักษาดินแดนและได้ทรงธนู ซึ่งสร้างให้เกิดความสนใจในกีฬายิงธนูเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง จึงมีการจัดสนามยิงธนูกลางแจ้งขึ้นในสถานที่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (EGAT) และเป็นจุดเริ่มต้นของการแข่งขันกีฬายิงธนูอย่างเป็นระบบ มีการจัดการแข่งขันแบบเย้าเยือนกับเจ้าหน้าที่ (U.S.A.I.D.) และพนักงานโครงการแม่น้ำโขงในประเทศลาว ซึ่งเป็นสมาชิกสมาคมยิงธนูสหรัฐเช่นกัน เพื่อพัฒนาการแข่งขันกีฬายิงธนูระหว่างประเทศ
ในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 กลุ่มนักกีฬายิงธนูไทยก็ได้รับกาจดทะเบียนสมาคมเป็นทางการว่า “สมาคมกีฬายิงธนูแห่งประเทศไทย” โดยมีที่ตั้งสมาคมอยู่ที่สนามยิงปืนกรมการรักษาดินแดนและสนามยิงธนูในร่มอยู่ที่ชั้นล่างของอาคารยิมเนเซี่ยม 1 ภายในบริเวณสนามกีฬาแห่งชาจิ สมาคมยังได้สมัครเป็นสมาชิกของคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทสไทยและสมาชิกของสหพันธ์กีฬายิงธนูสากล (FITA) ซึ่งตอบรับมาเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2514 พร้อมการตอบรับของคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยในปีเดียวกัน ตั้งแต่นั้นมาสมาคมกีฬายิงธนูแห่งประเทศไทยได้พัฒนาเทคนิคในการยิงธนูให้แก่สมาคมโดยผ่านทางฟีต้าและผ่านทางการติดต่อระหว่างประเทศโดยตรง
ในปี พ.ศ. 2518 สมาคมยิงธนูร่วมสมาคมยิงปืนเป็นสมาคมกีฬากลุ่มที่ 2 ของไทยที่มีโอกาสได้รับเชิญไปกระชับความสัมพันธ์ทางด้านกีฬากับสาธารณรัฐประชาชนจีนนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 การเชิญประกอบด้วยการแข่งขันกีฬายิงธนูระบบกลางแจ้งที่เมืองเซี่ยงไฮ้และการแข่งขันกีฬายิงธนูระบบในร่ม ที่กรุงปักกิ่งโดยเป็นการแนะนำกีฬายิงธนูระบบในร่มให้กับสาธารณรัฐประชาชนจีน
ปี พ.ศ. 2520 เป็นปีแรกที่รวมกีฬายิงธนูเข้าไว้ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 9 ที่ประเทศมาเลเซียและในกรแข่งขันกีฬาเอเซี่ยนเกมส์ครั้งที่ 8 เมื่อปี พ.ศ. 2521 ในประเทศไทย ผลจากการพัฒนาด้านกีฬายิงธนูระหว่างประเทศในประเทศไทยได้ดังนี้
การแข่งขันกีฬาเอเซี่ยนเกมส์ 2 ครั้ง กีฬายิงธนูเอเชี่ยนคับส์ / ชิงแชมป์ 1 ครั้ง การแข่งขันซีเกมส์ 4 ครั้ง กีฬายิงธนูมหาวิทยาลัยชิงแชมป์โลก 1 ครั้ง และการแข่งขันกีฬายิงธนูเอเชี่ยนกรังปรีประจำปีจนถึงปัจจุบัน 2011 (33 ครั้ง)
ประมวลภาพ สนามยิงธนู Buffalo Bow สุพรรณบุรี
สนามยิงธนู Buffalo Bow สุพรรณบุรี สนับสนุนโดย วัฒนากร คำพันธุ์
เรวัติ น้อยวิจิตร นสพ.พลังชน rewat.noyvijit@hotmail.com 08-1910-7445
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น