วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

นายไพโรจน์ อาจรักษา ตรวจติดตามผลการดำเนินงานกล้องโทรทัศน์ CCTV. ที่ อบจ.สุพรรณบุรี



            สุพรรณบุรีผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ตรวจติดตามผลการดำเนินงานของศูนย์เชื่อมโยงกล้องโทรทัศน์ CCTV. ที่ อบจ.สุพรรณบุรี

            นายบุญชู จันทร์สุวรรณ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมด้วยนายกฤตยศ เกษมสุข นางพจมาลย์ ปริ่มปาน รองปลัด อบจ.สุพรรณบุรี และคณะให้การต้อนรับ นายไพโรจน์ อาจรักษา ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ตรวจติดตามผลการดำเนินงานของศูนย์เชื่อมโยงกล้องโทรทัศน์ CCTV. ที่ อบจ.สุพรรณบุรี





             โดยนายไพโรจน์ กล่าวว่าการมาตรวจเยี่ยมครั้งนี้เนื่องจากมีการประชุมของคณะกรรมการตรวจการใช้งานของระบบกล้อง CCTV.ของจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งจะต้องมาตรวจความมีอยู่จริงของ CCTV.ว่าใช้งานได้กี่ตัว ชำรุดกี่ตัวและมีแผนการซ่อมอย่างไร และแผนติดตั้งเพิ่มเติมจุดเสี่ยง จุดสำคัญ หลังจากนั้นจะได้จัดทำแผนเชื่อมโยงระบบ ซึ่งจะต้องรายงานให้คณะใหญ่ ของ พล.อ.ประวิทย์ วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นคณะผู้บูรณาการแผนและระบบ สำหรับการเชื่อมโยงลักษณะของกล้องที่มีอยู่ในจังหวัดส่วนใหญ่จะเป็นกล้องหลายประเภท คุณภาพจะแตกต่างกันไป เพราะฉนั้นประสิทธิภาพในการใช้งาน บางครั้งมีกล้อง แต่ไม่สามารถซูมภาพให้เห็นเด่นชัดได้ หรือบางแห่งกล้องชำรุด บางที่ไม่ได้มีการติดตั้งไว้ จึงเป็นเหตุให้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบความมีอยู่จริง จึงมาตรวจเยี่ยมดังกล่าว พบว่าศูนย์ควบคุมของ อบจ.สุพรรณบุรี ได้มีการเชื่อมโยงของหลายอำเภอ ซึ่งการทำแผนการเชื่อมโยงและบูรณาการแผนที่จะต้องรายงาน จะต้องดูว่าสถานที่ไหนเหมาะสมจะเป็นศูนย์ควบคุม เห็นผู้ใช้ประโยชน์ก็คือตำรวจ จะรวมไว้ที่ สภ.เมือง หรือไว้ที่หน่วยงานที่มีงบประมาณเช่น อบจ. แต่สำหรับจังหวัดสุพรรณบุรี มีการคุยกันแล้วว่า อบจ.สุพรรณบุรี น่าจะมีความพร้อมความเหมาะสมมากกว่า เนื่องจากมีการเชื่อมโยงข้อมูลบางส่วนไว้ในหลายอำเภอแล้ว

             ดูแล้วพบว่า อบจ.สุพรรณบุรีมีความพร้อมในระดับหนึ่ง เพราะมีการดำเนินการไปแล้ว มีทั้งศูนย์ควบคุม และมีการบริหารจัดการที่ดีทุกด้าน และถ้าเกิดการเสียแล้วมีบริษัทที่มารับบำรุงรักษา สามารถที่จะแจ้งให้ซ่อมแซมได้ภายใน 24 ชั่วโมง คิดว่า อบจ.สุพรรณบุรี น่าจะเป็นศูนย์ควบคุมได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับคณะใหญ่ จะเป็นผู้พิจารณาอีกครั้งว่าควรจะเชื่อมโยงในลักษณะไหน และระบบกล้องควรจะเป็นกล้องประเภทไหนต้องพูดคุยกันต่อไป






             ด้านนายบุญชู จันทร์สุวรรณ นายก อบจ.สุพรรณบุรี กล่าวว่าการติดตั้งกล้อง CCTV.ของ อบจ.สุพรรณบุรี เริ่มต้นจากความร่วมมือกันระหว่าง อบจ.สุพรรณบุรีกับ กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุพรรณบุรี ช่วงปี 2556 ในการวางแผนโครงการเพิ่มศักยภาพในการป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ด้วยระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด โดยดำเนินการจำนวน 2 เฟด ช่วงปี 2556-2557 ติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดบริเวณเส้นทางการจราจร เขตพื้นที่ชุมชน และจุดเสี่ยงภัยต่างๆในเขต อำเภอเมืองสุพรรณบุรี และสนามกีฬากลางจังหวัดสุพรรณบุรี ช่วงแรกได้มีการใช้วิธีส่งสัญญาณแบบไร้สาย แต่เกิดปัญหาการใช้งาน จึงเปลี่ยนแปลงมาใช้ระบบสายสัญญาณใยแก้วนำแสงทั้งระบบ และได้มีการพัฒนาต่อขยายโครงข่ายระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดและสายสัญญาณใยแก้วนำแสงออกไปยังพื้นที่ อ.เมือง(บางส่วน) อ.ศรีประจันต์ อ.สามชุก และ อ.บางปลาม้า เพื่อเพิ่มศักยภาพในการป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และเพิ่มเติมในส่วนโครงการสำหรับดูแลความปลอดภัยในสำนักงาน และสถานที่ในความรับผิดชอบขององ๕การบริหารส่วงนจังหวัดสุพรรณบุรี ด้วยระบบกล้องวงจรปิด ซึ่งติดตั้งในพื้นที่สำนักงาน อบจ. แฟลต อบจ. สถานที่ท่องเที่ยวคุ้มขุนแผน อ.เมือง สถานที่ท่องเที่ยวสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ อ.เดิมบางนางบวช ตลอดร้อยปีสามชุก




               โดยมีทั้ง 418 กล้อง แยกออกเป็น 2 ประเภท คือ

                1.โครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนด้วยกล้องโทรทัศน์วงจรปิด รวม 255 กล้อง พื้นที่ อ.เมือง ติดตั้งแล้วจำนวน 203 ตัว ดูภาพได้ที่ ภ.จว.สุพรรณบุรี และ อบจ.สุพรรณบุรี พื้นที่ อ.ศรีประจันต์ ติดตั้งแล้วจำนวน 25 ตัว ดูภาพได้ที่ สภ.ศรีประจันต์และ อบจ.สุพรรณบุรี พื้นที่ อ.สามชุก ติดตั้งแล้วจำนวน 19 ตัว ดูภาพได้ที่ สภ.สามชุก และ อบจ.สุพรรณบุรี และที่ อ.สามชุก ติดตั้งแล้วจำนวน 8 ตัว ดูภาพได้ที่ สภ.สามชุก และ อบจ.สุพรรณบุรี

              2.โครงการดูแลความปลอดภัยในสำนักงาน และสถานที่ท่องเที่ยวในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 163 กล้อง ประกอบด้วยติดตั้งกล้องวงจรปิดภายในสำนักงาน อบจ.สุพรรณบุรี และบ้านพัก จำนวน 78 กล้อง ติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อรักษาความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยวในพื้นที่คุ้มขุนแผน อ.เมืองสุพรรณบุรี จำนวน 24 กล้อง ติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อรักษาความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยวในพื้นที่สถานแสดงพันธ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 61 กล้อง

                นอกจากนี้ในปี 2560 ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการคือติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดที่สถานีขนส่ง อ.ด่านช้าง และบริเวณแยกดอนแจง องเมืองสุพรรณบุรี โดยมีเป้าหมายจะดำเนินการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดให้ครอบคลุมถึงพื้นที่เหลืออีกจำนวน 6 อำเภอ

               โดยระบบกล้องวงจรปิด อบจ.สุพรรณบุรี ใช้ระบบโทรทัศน์วงจรปิดระบบ ไอพีดิจิตอล สามารถบริหารจัดการสัญญาณภาพได้ที่ Center คือศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ อบจ.สุพรรณบุรี บันทึกภาพเหตุการณ์ด้วยระบบเครื่องบันทึก NVR(Network Video Rrcorder) และระบบเครื่องบันทึกภาพภายนอก สามารรถบันทึกภาพเหตุการณ์ได้สูงสุดถึง 25 วัน ทั้งนี้จะสามรถให้บริการเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และประชาชน สามารถสืบค้นหาภาพเหตุการณ์ย้อนหลัง ช่วยให้ผู้บริหารสามารถตรวจสอบความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสำนักงาน ตลอดจนสามารถสลับภาพไปยังกล้องโทรทัศน์วงจรปิดของ อบจ.ได้ทุกโครงการ รวมทั้งการรักษาความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว และอำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงาน อาทิ ภาพรวมความเป็นระเบียบเรียบร้อย สอดส่องความปลอดภัยการทำงานของเครื่องจักร






 ศูนย์ข่าวท้องถิ่นออนไลน์   รายงาน   
เรวัติ  น้อยวิจิตร  Hub Admin rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น