พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นสายสะพาย สายสอง " ประถมาภรณ์ช้างเผือก " ให้แก่ พันเอก ( พิเศษ ) ยุทธนา ม่วงพูลสวาสดิ์ รองผู้อำนวยการ รักษาความมั่นคงภายในจังหวัดมุกดาหาร
วันที่ 27 มิถุนายน 2558 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใจ จังหวัดมุกดาหาร ร่วมแสดงความยินดีกับ พันเอก ( พิเศษ ) ยุทธนา ม่วงพูลสวาสดิ์ รองผู้อำนวยการ รักษาความมั่นคงภายในจังหวัดมุกดาหารในโอกาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นสายสะพาย สายสอง " ประถมาภรณ์ช้างเผือก " ในนาม หนังสือพิมพ์พลังชน ศูนย์ข่าวจังหวัดสุพรรณบุรี โดย เรวัติ น้อยวิจิตร ขอร่วมแสดงความยินดี มา ณื โอกาสนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก (อังกฤษ: The Most Exalted Order of the White Elephant) เป็นตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หนึ่งใน 8 ตระกูลที่สำหรับพระราชทานแด่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และผู้กระทำคุณความดี ทั้งบุรุษและสตรี โดยเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกนี้สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบเป็นประโยชน์แก่ราชการหรือสาธารณชน โดยการพิจารณาเสนอขอพระราชทานของรัฐบาล เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบและเครื่องหมายเชิดชูเกียรติยศอย่างสูงแก่ผู้ได้รับพระราชทาน พระราชทานทั้งบุรุษและสตรี หากทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แล้ว ให้ประกาศรายนามในราชกิจจานุเบกษา ปรกติแล้วจะประกาศในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ของทุกปี แยกเป็น 2 ฉบับ คือชั้นต่ำกว่าสายสะพาย และชั้นสายสะพาย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2404 แต่มิได้กำหนดให้มีสายสะพาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2412 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดชั้นและสายสะพายประกอบ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้มีทั้งหมด 8 ชั้น
- ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก 1 สำรับ ประกอบด้วย
- ดวงตรา ด้านหน้าเป็นรูปช้างไอราพตลงยาสีขาวอยู่บนพื่นทองในดอกบัวบาน กลีบลงยาสีชมพูสลับแดง เกสรเงิน รอบนอกมีกระจังทองลงยาสีเขียวสี่ทิศ มีรัศมีเปลวเงินตามระหว่าง ด้านหลังเปลี่ยนรูปช้างเป็นอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ม.ป.ร. ลงยาสีแดง เบื้องบนมีอุณาโลมเงินและพระมหามงกุฎทองมีรัศมี ห้อยกับแพรแถบขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร สีแดงริมเขียว มีริ้วเหลืองและน้ำเงินขนาดเล็กควบคั่นทั้ง 2 ข้าง สำหรับสะพายบ่าซ้ายเฉียงลงทางขวา
- ดารา ด้านหน้ามีลักษณะเช่นเดียวกับดวงตราแต่ขนาดย่อมกว่า ซ้อนอยู่บนรัศมีสีเงิน จำหลักเป็นเพชรสร่ง 4 แฉก รัศมีทอง 4 แฉก ประดับที่อกเสื้อด้านซ้าย
- ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก 1 สำรับ ประกอบด้วย
- ดวงตรา ด้านหน้าเป็นรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นอยู่บนพื้นทองในดอกบัวบาน กลีบลงยาสีแดง เกสรเงิน รอบนอกมีกระจังเงิน 8 ทิศ มีกระจังแทรกตามระหว่าง ด้านหลังเปลี่ยนรูปช้างเป็นอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ม.ป.ร. ลงยาสีแดง เบื้องบนมีพระมหามงกุฎทองมีรัศมี ห้อยกับแพรแถบขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร สีแดงริมเขียวใหญ่ มีริ้วเหลืองและน้ำเงินขนาดใหญ่ควบคั่นทั้ง 2 ข้าง สำหรับสะพายบ่าขวาเฉียงลงทางซ้าย
- ดารา ด้านหน้ามีลักษณะเช่นเดียวกับดวงตราแต่กระจังยาวกว่า ด้านหลังเป็นทอง สำหรับประดับอกเสื้อเบื้องซ้าย
- ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก 1 สำรับ ประกอบด้วย
- ดวงตรา มีลักษณะเช่นเดียวกับชั้นประถมาภรณ์ แต่ขนาดย่อมกว่า และที่พระมหามงกุฎไม่มีรัศมี ด้านหลังเป็นทองเกลี้ยง ใช้ห้อยกับแพรแถบขนาดกว้าง 4 เซนติเมตร สำหรับบุรุษใช้สวมคอ ส่วนดวงตราสำหรับพระราชทานสตรีนั้น มีลักษณะเช่นเดียวกับบุรุษแต่ขนาดย่อมกว่า ใช้ห้อยกับแพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ สำหรับประดับเสื้อที่หน้าบ่าซ้าย
- ดารา มีลักษณะเช่นเดียวกับชั้นประถมาภรณ์ สำหรับประดับอกเสื้อเบื้องซ้าย ส่วนดาราสำหรับพระราชทานสตรีนั้น มีลักษณะเช่นเดียวกับบุรุษแต่ขนาดย่อมกว่า
- ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก
- ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก
- ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก
- ชั้นที่ 6 เหรียญทอง (ร.ท.ช.) วิธีประดับเหมือนชั้นที่ 4
- ชั้นที่ 7 เหรียญเงิน (ร.ง.ช.) วิธีประดับเหมือนชั้นที่ 4
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น