ที่หอประชุมอาคารเอนกประสงค์ วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี นายสุรชาติ นุกูลธรรม ผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปะสุพรรณบุรี วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี พร้อมคณะ ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครอง ร่วมพิธีถวายราชสดุดี แสดงความอาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นายสุรชาติ นุกูลธรรม ผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปะสุพรรณบุรี ประธานในพิธีนำกล่าว ถวายราชสดุดี พร้อมตั้งสัตย์ปฏิญาณว่า จะตั้งมั่นเจริญตามรอยเบื้องพระยุคลบาทน้อมนำพระบรมราโชวาท ตลอดจนแนวพระราชดำริ และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ในการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ตลอดจนสร้างความรัก ความสามัคคี มุ่งมั่นทำดีเพื่อบ้านเมือง จากนั้นเป็นการกล่าวแสดงความอาลัย ยืนแสดงความอาลัย 90 วินาที การขับร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี ด้วยวงดนตรีประสานเสียงวิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี
จำนวน 100 คน ด้วยความไพเราะจับใจ โดยบรรดา ผู้ปกครองที่ร่วมในพิธีต่าง ซาบซึ้งและตื้นตันใจอย่างหาที่สุดมิได้
ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “อัครศิลปิน” ด้านดุริยางคศิลป์ ทรงพระปรีชาสามารถในการทรงเครื่องดนตรีหลายชนิดโดยมีเครื่องดนตรีที่โปรด ปรานเช่น แซกโซโฟน คลาริเน็ต และทรัมเป็ต นอกจากนี้ยังทรงกีตาร์และเปียโน โดยพระองค์ท่านได้ทรงดนตรีกับนักดนตรีที่มีชื่อเสียงระดับโลกมากมาย ทรงสนพระราชหฤทัยวิชาดนตรีอย่างจริงจังและทรงศึกษาอย่างลึกซึ้งจนถึงการ เขียนโน้ตและการบรรเลงแบบคลาสสิกนอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์ เพลงไว้ถึง ๔๘ เพลง โดยบรรเลงในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย ทั้งในลีลาของเพลงแจซซ์ คลาสสิก เพลงสมัยนิยม บทเพลงขับร้อง บทเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรกคือ “แสงเทียน” ในขณะที่มีพระชนมายุเพียง ๑๔ พรรษา บทเพลงพระราชนิพนธ์นั้นมีเพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองก่อนและใส่เนื้อร้อง ภาษาอังกฤษภายหลัง ๕ เพลง คือ แว่ว (Echo) ในดวงใจนิรันดร์ (Still on my mind) เตือนใจ (Old Fashioned Melody) ไร้เดือน (No Moon) และเกาะในฝัน (Dream Island) ส่วนเพลงที่พระราชนิพนธ์คำร้องก่อน และใส่ทำนองภายหลัง คือ ความฝันอันสูงสุด และเราสู้ เพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์เฉพาะทำนองเพลง และโปรดฯ ให้ผู้อื่นประพันธ์เนื้อเพลง มีทั้งสิ้น ๔๑ เพลง
ศูนย์ข่าวท้องถิ่นออนไลน์ รายงาน
เรวัติ น้อยวิจิตร Hub Admin rewat.noyvijit@hotmail.com 081-9107445
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น