วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

สุพรรณบุรี อธิบดีกรมการข้าว ประชุมศูนย์วิจัยฯ เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวสู่ตลาดโลก


       

           ที่จังหวัดสุพรรณบุรี กองวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดประชุมวิชาการข้าว กลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคกลางและตะวันตก และกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคตะวันออก ประจำปี 2557 โดยมีนายชาญพิทยา ฉิมพาลี อธิบดีกรมการข้าว ได้เป็นประธานประธานการประชุมและนายสุวัฒน์  เจียระคงมั่น ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวรายงาน ที่ห้องประชุมโรงแรมศรีอู่ทองแกรนด์




          เนื่องจากพื้นที่ภาคกลาง ตะวันออก และตะวันตก นับเป็นพื้นที่ปลูกข้าวที่สำคัญของประเทศไทย เพื่อการส่งออก และบริโภคภายในประเทศ มีพื้นที่ปลูกข้าวเกือบ 10 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังประมาณ 7 ล้านไร่ และนาปี ประมาณ 3 ล้านไร่ มีความหลากหมายของชนิดพันธุ์ข้าวที่ปลูก ตั้งแต่ข้าวนาสวนนาน้ำฝน ข้าวน้ำลึก ซึ่งปลูกปีละครั้ง และข้าวสวนนาชลประทานที่ปลูกได้ตลอดปี กระบวนการผลิตข้าวในภูมิภาคนี้ประสบปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่ต้องแก้ไข และเสริมสร้างศักยภาพการผลิตให้สูงขึ้นทั้งปริมาณ และคุณภาพ ศูนย์วิจัยข้าวทั้ง 7 แห่งนี้ มีภารกิจในการวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตข้าวในพื้นที่ที่ตนเองรับผิดชอบ โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆ เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศ และหลักการบริหารจัดการต่างๆ  มาปรับใช้ในการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล ตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน สถาบันวิชาการของภาครัฐ และเอกชนทั้งใน และต่างประเทศ ในการพัฒนาพันธุ์ และสร้างนวัตกรรมต่างๆ เพื่อยกระดับการผลิตและการแข่งขันของข้าวไทยในตลาดโลก รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนา รักษาสิ่งแวดล้อม สร้างความมั่นคงด้านอาหารของชาวไทย และประเทศชาติโดยรวม




             การปรับปรุงพันธุ์ การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าว การพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและการแปรรูป การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการตลาด โรค แมลงและศัตรูพืช และการพัฒนาระบบการส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี  กรมการข้าว ได้ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาข้าว ถือเป็นภารกิจหนึ่งของกรม ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตข้าวให้มีคุณภาพดี ผลผลิตสูง ช่วยลดต้นทุนการผลิตปลอดภัยจากโรคและแมลงทำลาย ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งให้ประเทศชาติและชาวนาอย่างยั่งยืน นักวิจัยจึงมีความจำเป็นต้องศึกษาการพัฒนาพันธุ์เทคโนโลยีและวิธีการต่างๆ ให้ได้นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่สามารถนำมาปรับใช้ และแก้ไขปัญหา ให้ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและชาวนาเป็นสำคัญ อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างมั่นคงถาวรสืบไป





เกรียงไกร ก่อเกียรติตระกูล บรรณาธิการข่าวท้องถิ่น อู่ทองนิวส์
 เรวัติ น้อยวิจิตร   hub admin rewat.noyvijit@hotmail.com  08-1910-7445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น