วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เอไอเอส ยัน คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือไม่อันตรายต่อสุขภาพ

 


เอไอเอส จัดเสวนาหัวข้อ  “ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือไม่อันตรายต่อสุขภาพ ”  เอไอเอส จัดเสวนาหัวข้อ “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือไม่อันตรายต่อสุขภาพ” ชี้เสวนาครั้งนี้ หวังเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารที่ถูกต้องจากภาครัฐผ่านสื่อมวลชน สู่สาธารณชนต่อไป

นายกิตติ งามเจตนรมย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการส่วนงานปฏิบัติการภูมิภาค -ภาคกลาง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า จากเงื่อนไขข้อกำหนดในการขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมตามที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)กำหนดนั้น บริษัทฯไม่ได้เพียงมุ่งขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมเพียงอย่างเดียวแต่มีจุดมุ่งหมาย คือ การทำให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีทางการสื่อสารได้อย่างเท่าเทียมกันในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งขณะเดียวกันบริษัทฯตระหนักถึงความกังวลของประชาชน   และคนในชุมชนเกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือว่ามีผลต่อสุขภาพจริงหรือไม่    เอไอเอส จึงจัดงานเสวนาให้ความรู้ในหัวข้อ  “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือไม่อันตรายต่อสุขภาพ”  ทั้งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับท่านสื่อมวลชนนำเสนอเผยแพร่       สู่สาธารณต่อไป    และยังเป็นการสอดรับกับนโยบายของ สำนักงาน กสทช.ในการเดินสายให้ความรู้กับประชาชนในประเด็นดังกล่าวทั่วประเทศ




ดร.ธีรศักดิ์  อนันตกุล  ผู้จัดการแผนกเทคนิคโครงข่ายโทรคมนาคม  เอไอเอสผู้เชี่ยวชาญด้านคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า กล่าวว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือที่มีประชาชนวิตกกังวลนั้น ความจริงแล้วไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายมนุษย์ และสัตว์ เพราะว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าดังกล่าว มีกำลังส่งที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ กสทช. กำหนดไว้ เช่นเดียวกับโครงสร้างเสาส่งสัญญาณที่ก่อสร้างตามหลักวิศวกรรมที่เป็นไปตามมาตรฐานของสถาบันวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย และ กสทช. ดังนั้น ประชาชน และผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณรอบเสาส่งสัญญาณจึงมั่นใจได้ว่าจะไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด
  
โดยจากงานวิจัยระบุว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามี 2 ประเภท คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากลุ่มชนิดไม่ก่อไอออน (Non-ionizing radiation) ซึ่งเป็นย่านความถี่ชนิดที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ(DNA) ในมนุษย์ และสัตว์ ได้ เนื่องจากเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ต่ำ ซึ่งจะอยู่ในกลุ่มคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ,คลื่นจากวิทยุ เอเอ็ม เอฟเอ็ม ,โทรทัศน์  และคลื่นจากวิทยุสื่อสารตำรวจหรือกู้ภัย สัญญาณ WI-FI  เช่นเดียวกับแสงแดด (UV) ที่ถือ เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีทั้งความถี่ต่ำ และความถี่สูง 

นอกจากนี้องค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) ได้กำหนดให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ต่ำอยู่ในกลุ่ม 2B ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับ กาแฟ ,น้ำมันหอมระเหย  และสารสกัดทั้งกลีบใบของว่านหางจระเข้ หรือน้ำมันมะพร้าวที่ผสมกับไดเอทาโนลาไมด์ สำหรับทำให้เกิดฟองในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจำพวกแชมพู สบู่ รวมไปถึงเครื่องสำอาง และสารสกัด เป็นต้น โดยทั้งหมดถือเป็นกลุ่มที่อาจจะ หรืออาจเสี่ยงให้ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพเท่านั้น

“ ปัจจุบันยังไม่มีผลวิจัยใดที่ชี้ชัดว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือมีผลกระทบทำให้เกิดโรคต่างๆต่อร่างกายมนุษย์ หรือสัตว์เลย เช่นเดียวกับ กสทช.ที่ออกมาระบุอย่างชัดเจนว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือทั่วประเทศมีเกณฑ์ต่ำกว่าเกณฑ์มาตราฐานที่กสทช.กำหนดไว้ 

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากลุ่มชนิดก่อไอออน(Ionizing-radiation) ซึ่งเป็นคลื่นที่มีผลต่ออะตอม และมีผลต่อการแยกอนุภาคอีเล็กตรอนออกไปกลายเป็นอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็ง     เช่น คลื่นจากรังสีแกมมา รังสีเอ็กซ์ เป็นต้น

ในประเด็นเรื่องความปลอดภัยของโครงสร้างเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือนั้น ทางบริษัทฯได้ดำเนินการติดตั้งก่อสร้างตามหลักวิศวกรรมที่เป็นไปตามมาตรฐานของสถาบันวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย และ กสทช. ซึ่งในการดำเนินงานก่อสร้างจะปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด ดังนั้นจึงมีความมั่นคง แข็งแรงของโครงสร้างที่สามารถทนต่อแรงลมปะทะได้สูงสุดถึง 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเทียบเท่ากับระดับความแรงของพายุไต้ฝุ่น หรือแม้แต่แผ่นดินไหวก็ตาม

“เอไอเอส ขอยืนยันว่าการติดตั้งเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือเป็นไปตามมาตรฐานที่กสทช.กำหนดไว้ เช่นเดียวกับอุปกรณ์ต่างๆที่ติดตั้งอยู่บนเสาส่งสัญญาณซึ่งได้การรองรับจากผู้ให้บริการทั่วโลกในการใช้งาน” 




สอบถามเพิ่มเติม  อิทธิเดช ศุขดวง (เฟิร์ส) : 06 1426 4194  /   ชมพลอย  พลอยนุช : 09 8669 2355
เรวัติ  น้อยวิจิตร  Hub Admin rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น