วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

เรื่องเล่าเจ้าคุณปู่ พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ

ประมวลภาพ งานเสวนา " เรื่องเล่าเจ้าคุณปู่ พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ ( สุนี สุวรรณประทีป )” เรวัติ น้อยวิจิตร ภาพ “เรื่องเล่าเจ้าคุณปู่ พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ ( สุนี สุวรรณประทีป )” ในวาระมงคลครบรอบ 99 ปี ของการพระราชทานนามสกุล “สุวรรณประทีป” โรงเรียนนายเรืออากาศสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ทายาทสกุลสุวรรณประทีปและสกุลเฉลิมอากาศและสำนักพิมพ์บัวสรวง ขอเรียนเชิญท่านเป็นเกียรติร่วมการเสวนา “เรื่องเล่าเจ้าคุณปู่ พลอากาศโทพระยาเฉลิมอากาศ (สุนี สุวรรณประทีป)” ในวันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน 2555 เวลา 10.00 -15.00 น. ณ ตึกบ้านไร่ (บ้านสุวรรณประทีป) ต.วังน้ำซับ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี การเสวนาครั้งนี้เป็นโครงการนำร่องของการจัด “แหล่งเรียนรู้ พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ (สุนี สุวรรณประทีป)” ซึ่งคาดว่าจะเปิดดำเนินการได้ภายในปี พ.ศ. 2556 จึงขอเชิญท่านผู้มีเกียรติมาแลกเปลี่ยนเกร็ดความรู้เกี่ยวกับพลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ เพื่อนำเนื้อหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อแนวทางการจัดทำแหล่งเรียนรู้ให้มีคุณค่าต่อสังคมในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีสืบไป สอบถามรายละเอียดได้ที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อภิญญา บัวสรวง Apinya Buasuang; กองประกันคุณภาพการศึกษา กองบัญชาการ โรงเรียนนายเรืออากาศ โทร.02-5344120,02-5340533 หรือที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุพรรณบุรี โทร.035-536030,035-535789 พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณประทีป) เขียนโดย sunisa วันเสาร์ที่ 06 สิงหาคม 2011 เวลา 14:19 น. พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ เป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งของประเทศไทย คือท่านเป็นผู้ให้กำเนิดกองทัพอากาศ ทหารอากาศมักเรียกท่านว่า “พรหมแห่งกองอากาศไทย” หรือ “บูรพาจารย์แห่งกองทัพอากาศไทย” เกิดที่ ตำบลบ้านไร่ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๔๓๐ เป็นบุตรคนหนึ่งของหลวงอนุกูลราชกิจ (ทอง สุวรรณประทีป) กับนางอนุกูลราชกิจ (หรุ่น สุวรรณประทีป) บ้านเกิดของพระยาเฉลิมอากาศเป็นเรือนแพ เมื่อเริ่มก่อตั้งที่ว่าการอำเภอศรีประจันต์ใหม่ๆ อาศัยเรือนแพของหลวงอนุกูลราชกิจเป็นที่ทำการ การศึกษาสมัยนั้นไม่เจริญ ในขั้นต้นบิดามารดาคงจะส่งพระยาเฉลิมอากาศเข้าไปเป็นลูกศิษย์วัด เพื่อเรียนหนังสือกับพระ ต่อมาจึงส่งพระยาเฉลิมอากาศเข้ากรุงเทพฯ เมื่อพ.ศ.๒๔๓๘ เข้ามาศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาส (วัดสามปลื้ม) โรงเรียนวัดมหาพฤฒาราม โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และพ.ศ.๒๔๔๖ เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก สำเร็จ พ.ศ.๒๔๔๘ จากนั้นออกรับราชการเป็นนายร้อยตรี จากการรับราชการทหารบก เลื่อนยศเป็นนายร้อยเอกหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ วันที่๓ พฤษภาคม ๒๔๕๔ ได้ยศเป็นนายพันตรี เมื่อต้นปี พ.ศ.๒๔๕๔ มีฝรั่งนำเครื่องบนชื่อออร์วิลล ไรท์ ใช้เครื่องยนต์ ๕๐ แรงม้า ความเร็วชั่วโมงละ ๕๐ กิโลเมตร เป็นเครื่องบินใบพัด ปีกสองชั้น มาแสดงการบินให้ประชาชนที่สนามม้าสระปทุม เมื่อฝรั่งบินไปให้ประชาชนชมแล้ว เชิญทหารไทยขึ้นเครื่องบินทดลอง ทางฝ่ายไทยให้พันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธขึ้นคนแรก หลวงศักดิ์ศัลยาวุธตกลงด้วยความเต็มใจ ขึ้นเครื่องบินคู่กับฝรั่ง บินร่อนอยู่ได้สองสามรอบแล้วกลับลงสู่พื้นดิน พอลงมาพันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธพูดว่า “เมื่อเครื่องบินอยู่ในอากาศนั้นไม่มีความรู้สึกอย่างไร สบายเหมือนนั่งรถยนต์” หลังจากฝรั่งแสดงการบินในวันนั้น จอมพลพระเจ้าพี่ยาเธอกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหม เสด็จประเทศยุโรป ทรงทราบว่าประเทศฝรั่งเศสกำลังปรับปรุงการบินเป็นการใหญ่ จึงทรงนึกถึงความจำเป็นที่ประเทศไทยจำต้องมีเครื่องบินไว้ป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหมจึงตั้งหน่วยเครื่องบินขึ้น ส่งนายทหารไปศึกษาวิชาการบินในประเทศฝรั่งเศส ทางราชการให้พันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ ผู้บังคับกองทัพพิเศษที่ ๕ เดินทางไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส พร้อมด้วยเป็นนักบินนายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร (หลง สินศุข) (ต่อมาเป็น นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์) และนายร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต (ต่อมาเป็น นาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต) โดยพันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ ไปศึกษาโรงเรียนการบิน ที่ตำบลวิล์ลาคูเบลย์ เรียนแบบนักบินพลเรือนส่วนอีกสองคนนั้นเข้าศึกษาโรงเรียนการบินของบริษัทนิเออเปอร์ต เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕ หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ ฝึกบินด้วยเครื่องบินเบรเกต์ปีกสองชั้น หลวงวุธสิขิกรกับร้อยโททิพย์ เกตุทัต ฝึกด้วยเครื่องบินนิเออปอร์ปีกชั้นเดียวจนถึงวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๔๕๕ พันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ สอบไล่ตามหลักสูตรสโมสรการบินพลเรือนของประเทศฝรั่งเศส การศึกษาการบินของบุคคลทั้งสามสอบไล่ได้ใกล้ๆ กัน แล้วเดินทางไปดูการบินในที่ต่างๆ เช่นประเทศอังกฤษและรัสเซีย เป็นต้น และในระหว่างการเรียนการบินอยู่นั้นได้ติดต่อซื้อเครื่องบินให้กระทรวงกลาโหมด้วย เป็นจำนวน ๗ เครื่อง เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๔๕๖ ได้เลื่อนยศเป็นนายพันโท และในวันนั้นเองจะต้องสอบการบินเดินทางไกล ๒๐๐ กิโลเมตร กับวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๕๖ ต้องบินแบบสามเหลี่ยม ๓๐๐ กิโลเมตร บังเอิญเครื่องบินชำรุดก้านสูบขาดจึงต้องร่อนลงสู่พื้นดิน แก้ไขจนใช้การได้จึงบินขึ้นใหม่ ขณะบินขึ้นต้องเลี่ยงหลบยอดไม้ เครื่องบินจึงแฉลบตกลงกระแทกพื้นดิน เครื่องบินเสียหายมากแต่พันโทหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ มิได้รับอันตรายใดๆ เลย เมื่อทำการสอบใหม่ในวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๔๕๖ ก็สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของกองทัพบกฝรั่งเศส และมีฐานะเป็นนักบินทหารเมื่อเรียนจบการบินทหารและการบินพลเรือนแล้ว เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ วันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๔๕๖ ต่อมาวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๔๕๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการบิน พันโทหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ บินถวายตัวพร้อมโปรยข้าวตอกดอกไม้ถวายพระพรชัยมงคล เสด็จการบินถวายตัวแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเหรียญดุษฏีมาลาเข็มศิลปวิทยาแก่พันโทหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ และต่อมาได้รับพระราชทานยศเป็น พันโทพระยาเฉลิมอากาศ เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๔๕๗ กระทรวงกลาโหมพิจารณาเห็นว่าสนามม้าสระปทุมคับแคบและเป็นที่ลุ่มไม่เหมาะสมที่จะเป็นสนามบิน หากกิจารบินไทยจะต้องขยายใหญ่ขึ้น พันโทพระยาเฉลิมอากาศ จึงเสาะหาสถานที่ใหม่เป็นที่ดอน น้ำไม่ท่วมเมื่อถึงฤดูน้ำเหนือหลาก พบที่ดอนที่ดอนเมืองเหมาะสมที่จะเป็นสนามบินการ จึงรายงานให้กระทรวงกลาโหมทราบ กระทรวงจึงสั่งกรมเกียกกายทหารบกเริ่มดำเนินการตามที่พันโทพระยาเฉลิมอากาศเสนอ เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๗ ณ สนามบินดอนเมืองได้มีการทดลองเครื่องบินลำแรก สร้างโดยน้ำมือของคนไทยใช้วัสดุภายในประเทศ ยกเว้นแต่เครื่องยนต์เท่านั้น ต่อมาอีกสามเดือนโรงงานกองบินทหารบกก็สร้างเครื่องบินปีกสองชั้นแบบเบรเกต์ออกทดลองบินเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๔๕๘ เป็นครั้งแรก นับเป็นผลสำเร็จในการบินอย่างยิ่ง พ.ศ. ๒๔๕๙ ได้เลื่อนยศเป็นนายพันเอก หลังจากนั้นอีก ๔ ปี กระทรวงกลาโหมยกฐานะกองบินทหารบกขึ้นเป็นกรมอากาศยานทหารบก ในวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๔๖๑ ล่วงเข้า พ.ศ.๒๔๖๓ ได้เป็นพระยาเฉลิมอากาศ ถือศักดินา ๑,๕๐๐ ไร่ ในระหว่างเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ พระยาเฉลิมอากาศไปราชการสงครามร่วมศึกกับพันธมิตร เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๔๖๑ เสร็จสงครามแล้วเดินทางกลับถึงเมืองไทยวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๔๖๑ ท่านลาออกจากราชการเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๔๗๕ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๔๗๖ ท่านกลับเข้าทำหน้าที่ผู้กำกับการบินพลเรือน เป็นนายทหารนอกราชการ พ.ศ.๒๔๘๑ จวบจนกระทั่งวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๘๖ จึงลาออกจากราชการเพื่อรับบำนาญ พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๑๔กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๘ และพระราชทานเพลิงศพฯ ณ เมรุวัดพระศรีมหาธาตุ เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๔๙๙ แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม 2011 เวลา 20:17 น. พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณประทีป) จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณประทีป) (26 เมษายน พ.ศ. 2430 - 14 กันยายน พ.ศ. 2498) เป็นนักบินคนแรกของประเทศไทยและเป็นผู้ให้กำเนิดกองทัพอากาศไทย [แก้] ประวัติ พระยาเฉลิมอากาศ มีนามเดิมว่า สุณี สุวรรณประทีป เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๐ ที่อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เข้ามาศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาส โรงเรียนวัดมหาพฤฒาราม และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก ได้คะแนนดีเยี่ยม จากนั้นเข้ารับราชการทหาร ท่านได้รับทุนไปศึกษาวิชาการบินที่ประเทศฝรั่งเศส ขณะมียศเป็น นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ เป็นนักบินรุ่นแรก คนหนึ่งในจำนวน ๓ คน ซึ่งประกอบด้วย นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร (หลง สินศุข) (ต่อมาเป็น นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์) และนายร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต (ต่อมาเป็น นาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต) ท่านรับราชการเป็นนักบินในกองทัพจนมียศเป็นนายพลโท บรรดาศักดิ์เป็นพระยาเฉลิมอากาศ เมื่อ พ.ศ. 2463 เป็นผู้ริเริ่มหน่วยบินซึ่งเดิมมีเครื่องบินเพียง ๘ ลำ จนพัฒนามาเป็น กรมอากาศยานทหารบก และกลายเป็นกองทัพอากาศไทย ในเวลาต่อมา นายพลโท พระยาเฉลิมอากาศ พ้นจากหน้าที่ "เจ้ากรมอากาศยาน" ภายหลังมีการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ซึ่งได้มีคำสั่ง "ยกเลิกชั้นนายพลในกองทัพไทย" และกลับเข้าทำหน้าที่ ผู้กำกับการบินพลเรือน เป็นนายทหารนอกราชการ ในปี พ.ศ. 2481 ภายหลังได้รับพระราชทานยศ พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ และลาออกจากราชการเมื่อ พ.ศ. 2486 นายพลโท พระยาเฉลิมอากาศ ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๘ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สิริอายุ ๖๘ ปี ๖ เดือน ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๓ เป็น “หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ” ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๗ เป็น “พระเฉลิมอากาศ” ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ เป็น “พระยาเฉลิมอากาศ” ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรยศทหาร สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๖ เป็นนักเรียนนายร้อย มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๘ เป็นว่าที่นายร้อยตรี ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๘ เป็นนายร้อยตรี ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ เป็นนายร้อยโท ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๑ เป็นนายร้อยเอก ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ เป็นนายพันตรี ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ เป็นนายพันโท ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ เป็นนายพันเอก ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ เป็นนายพลตรี ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ เป็นนายพลโท พ.ศ. ๒๔๗๕ ยกเลิกยศนายทหารชั้นนายพล ใน กองทัพบก ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ เป็นนายนาวาอากาศเอก ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นพลอากาศโท [แก้] อ้างอิง ประวัติพระยาเฉลิมอากาศ หนังสือพระราชทานเพลิงศพ "พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ" ดนัย ไชยโยธา, นามานุกรมประวัติศาสตร์, โอเดียนสโตร์, 2548, ISBN 974-971-297-8 ข้อมูลเพิ่มเติม จากแผนกการบิน ๒๔๕๖ มาเป็น...กองทัพอากาศ http://www.rtaf.mi.th/rtaf-travel/ms-history1.htm พระยาเฉลิมอากาศ - คลังปัญญาไทย http://w7.thaiwebwizard.com/member/suphaninsure/wizContent.asp?wizConID=57185&txtmMenu_ID=7

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น