วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุพรรณบุรี จัดงาน วันพิพิธภัณฑ์ไทย

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุพรรณบุรี จัดงานวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี 2556 เชิญผู้ทรงคุณวุฒิ และ นักวิชาการ เปิดเวทีเสวนา พร้อมให้มุมมอง ด้านการการอนุรักษ์ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นให้อยู่อย่างยั่งยืน และ มีระบบ โดย ได้รับเกียรติ จาก นายประทีป เพ็งตะโก ผู้อำนวยการ สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี มาเป็นประธานเปิดงาน
วันที่ 19 กันยายน 2556 เวลา 09.00 น. นางนิภา สังคนาคินทร์ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี จัดใหญ่ วันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำป 2556 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี โดยมี นายประทีป เพ็งตะโก ผู้อำนวยการ สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดงาน หลังพิธีเปิด เป็นการบรรยายพิเศษ เรื่อง พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจะอยู่อย่างไรให้ยั่งยืน โดย ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล อดีต สมาชิกวุฒิสภา จังหวัดสุพรรณบุรี 1 ชัวโมงเต็ม ได้สาระในการนำไปประยุกต์ใช้ ได้ประโยชน์มากมาย
ในช่วงเวลา ก่อนพักเที่ยง หนึ่งชั่วโมงครึ่ง เป็นการเสวนา เรื่อง เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ในเขตพื้นที่ สำนักศิลปากร ที่ 2 สุพรรณบุรี ประกอบด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม นนทบุรี และ ปทุมธานี มี สมาชิก เครือข่าย เข้าร่วมเสวนากว่า 150 คน ทั้ง พระภิกษุสงฆ์ ผู้ทรงคุณวิฒิ นักวิชาการอิสระ นักเรียน นิสิต นักศึกษา คณาจารย์ และ สมาชิกเครือข่าย ได้เรียนรู้ร่วมกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมสร้างเครือข่ายร่วมกัน ก่อนพักรับประทานอาหารกลางวัน
หลังอาหารเที่ยง เป็นการบรรยายพิเศษ เรื่อง การจัดทำสารสนเทศพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อลิษา วานิชดี ประธานกรรมการ ประจำสาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ คุณราชบดินทร์ สุวรรณคัณฑี นักวิชาการหน่วยงานสื่อยุคใหม่ ฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร
เรวัติ น้อยวิจิตร สุพรรณอินชัวร์ดอทคอม rewat.noyvijit@hotmail.com 081-9107445
19 กันยายน วันพิพิธภัณฑ์ไทย เรียบเรียงโดยกระปุกดอทคอม เมื่อพูดถึง "พิพิธภัณฑ์" คนส่วนใหญ่ในบ้านเรามักไม่นิยมเข้าไปสักเท่าไร แต่เวลาไปต่างประเทศน่าแปลกที่ว่า สถานที่ที่เราหรือนักท่องเที่ยวนิยมไปเยี่ยมชมกันเป็นจำนวนมากในแต่ละปี กลับกลายเป็น "พิพิธภัณฑ์ " ทั้งๆ ที่ต้องเสียเงินค่าเข้าชมมิใช่ราคาถูกๆ (อืม...) ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น... ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะความรู้สึกของคนส่วนมากมักคิดว่า "พิพิธภัณฑ์ไทย" คร่ำครึล้าสมัย เมื่อเข้าไปแล้วไม่โก้เก๋เหมือนไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ในยุโรปหรืออเมริกา ทั้งๆ ที่ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ของเราได้พัฒนาไปแล้วไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นของทางราชการหรือเอกชน และยังมีรูปแบบที่หลากหลายให้เลือกชม ยิ่งในยุคปฏิรูปการศึกษา ที่สอนให้เด็กได้ศึกษาค้นคว้านอกเหนือไปจากการเรียนการสอนในระบบแล้ว "พิพิธภัณฑ์" นับได้ว่าเป็น "แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต" ที่สำคัญยิ่งในขณะนี้ (ว๊าว...)
http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/19662-00/ ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 - 17 ทางด้านซีกโลกตะวันตก ได้มีการตื่นตัวในด้านการเก็บรวบรวม และสะสมทรัพย์สมบัติ และมรดกต่างๆ ทั้งที่เป็นวัตถุ สิ่งของมีค่า สิ่งเก่าแก่ ที่หายากและแปลกๆ เพื่อเป็นหลักฐานทางมรดกวัฒนธรรมของชาติอันเป็นการแสดงถึงความเป็นใหญ่ และความมั่งคงของเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่เด่นชัด ซึ่งเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมนั้น จะปรากฏขึ้นได้ก็ต่อเมื่อชาตินั้นๆ ได้มีการรวบรวมหลักฐานที่เป็นศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ สิ่งประดิษฐ์จากการคิดค้นหรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นสมบัติของชาติ มาประมวลเป็นหลักฐานให้ชีวิตของชนในชาตินั้นได้ สำหรับในประเทศไทยนั้น ผู้ริเริ่มดำเนินการรวบรวมวัตถุสิ่งต่างๆ เป็นคนแรกได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดพิพิธภัณฑสถานส่วนพระองค์ ที่พระที่นั่งราชฤดีเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นที่จัดตั้งแสดงสิ่งสะสมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงรวบรวมไว้ตั้งแต่ครั้งก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ และต่อมาได้ย้ายมาจัดแสดงที่พระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ อันเป็นที่มาของคำว่า "พิพิธภัณฑ์" ในเวลาต่อมา เมื่อมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพราะจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการจัดตั้ง "มิวเซียม" ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับประชนแห่งแรกขึ้น ณ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2417 เส้นทางพิพิธภัณฑสถานไทย ที่เริ่มต้นจากพิพิธภัณฑสถานส่วนพระองค์ ได้เปลี่ยนแปลงมาสู่พิพิธภัณฑสถานประชาชน และพัฒนาต่อไปจากพิพิธภัณฑสถานที่เก็บรักษาสรรพสิ่งทั่วไป ไม่กำหนดประเภทแน่นอน มาเป็นพิพิธภัณฑสถานมากมายหลายประเภท ตามลักษณะของศิลปวิทยาการที่เกิดขึ้นในโลก ทั้งทางศิลปะวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชาติพันธุ์วิทยา สังคมวิทยา และสาขาวิชาอื่นๆ เป็นจำนวนหลายร้อยแห่งทั่วประเทศ และยังได้ยกระดับกิจการพิพิธภัณฑ์ไทยให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล โดยเข้าเป็นสมาชิกสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ หรือ ICOM ซึ่งให้คำจำกัดความว่า "พิพิธภัณฑ์" ว่ามิใช่เป็นแหล่งเก็บรวบรวม สงวนรักษาศึกษาวิจัย และจัดแสดงเฉพาะวัตถุเท่านั้น แต่พิพิธภัณฑ์ไดัรวบรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นหลักฐานสำคัญต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่เกี่ยวเนื่องกับสังคมวัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ จากหลักฐานในอดีต สิ่งที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน และแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยนัยนี้พิพิธภัณฑสถานในประเทศไทยได้จัดตั้งขึ้นแล้วกว่า 200 แห่ง และได้มีการพัฒนารูปแบบกิจการ ให้มีความเป็นสถาบันการศึกษานอกรูปแบบที่สำคัญอีกด้วยด้วย เหตุนี้รัฐบาลจึงประกาศให้วันที่ 19 กันยายนของทุกปี เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทย นับตั้งแต่ พ.ศ. 2538 เป็นต้นไป เนื่องจากเป็นวันที่คนไทยทั้งชาติ ได้รับพระราชทานพิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชนเป็นครั้งแรก จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ 2417 เพื่อน้อมรำลึกถึงพระคุณของพระองค์ท่าน และเพื่อปลูกฝังให้คนไทยรักและหวงแหนในศิลปวัฒนธรรม อันเป็นสิ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยในวันพิพิธภัณฑ์ไทย โดยพิพิธภัณฑสถานต่างๆ ทั่วประเทศ ได้ร่วมกันเปิดพิพิธภัณฑสถานให้ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสเข้าไปชมศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ เพื่อสร้างความรักความเข้าใจ ตลอดจนภูมิใจในความเป็นไทยโดยทั่วกัน ข้อมูลและภาพประกอบจาก http://www.culture.go.th/study.php?&YY=2548&MM=8&DD=2 http://www.lib.ru.ac.th/journal/sep/sep19-ThaiMuseumDay.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น