วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กาญจนบุรี พล.ต.สมบูรณ์ ดีรอด เป็นประธานเปิดโครงการกะเพราเขียวใบใหญ่




                พล.ต.สมบูรณ์ ดีรอด ผบ.จทบ.ก.จ.พร้อมด้วย คุณ บุศรา ดีรอด ประธานชมรมแม่บ้าน จทบ.ก.จ.เป็นประธานเปิดโครงการกะเพราเขียวใบใหญ่ จทบ.ก.จ.








           เมื่อ ๑๔ ส.ค.๕๘    พล.ต.สมบูรณ์ ดีรอด ผบ.จทบ.ก.จ.พร้อมด้วย คุณ บุศรา ดีรอด ประธานชมรมแม่บ้าน จทบ.ก.จ.เป็นประธานเปิดโครงการกะเพราเขียวใบใหญ่ จทบ.ก.จ.






           กระเพรา ถือเป็นผักสวนครัวที่ได้รับความนิยมมากชนิดหนึ่ง เนื่องจากมีกลิ่นหอมแรง และให้รสเผ็ด เหมาะสำหรับนำมาประกอบอาหารโดยเฉพาะเมนูผัดกระเพรา และใส่ในอาหารจำพวกต้มยำต่างๆ






          กระเพรา ถือเป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี ต้นแม่ต้นหนึ่งอาจมีอายุมากกว่า 5 ปี หากได้รับการดูแล ให้ปุ๋ย ให้น้ำเป็นประจำ ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยม แตกกิ่ง และใบออกตามข้อ ใบจะแตกออกเป็นคู่ด้านซ้ายขวา ขอบใบเป็นเว้าเป็นร่องคล้ายฟันเลื่อย และมีขนปกคลุมใบ ใบกว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. ขึ้นอยู่กับพันธุ์ ส่วนดอกแตกออกเป็นช่อหลายช่อมีลักษณะดอกคล้ายแมงลัก
          สายพันธุ์กระเพราอีกลักษณะหนึ่งซึ่งมักพบตามหัวไร่ปลายนาจะมีลักษณะใบเล็ก และมีขนมากกว่า ซึ่งจะมีกลิ่นหอมรุนแรง และให้รสเผ็ดมากกว่า บางครั้งชาวบ้านเรียกว่า กระแพรว นิยมปลูก และนำมารับประทานมากขึ้นในปัจจุบัน







การปลูก

         การปลูกกระเพรามีทั้งการปลูกเพื่อการขายในแปลงขนาดใหญ่ และการปลูกเพื่อรับประทานเองภายในบ้านที่อาจปลูกในแปลงดินที่ว่างขนาดเล็กหรือการปลูกในกระถาง ด้วยแยกกล้าปลูก และการหว่านเมล็ด ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้



1. การปลูกในแปลงขนาดใหญ่
การเตรียมกล้าพันธุ์
การเตรียมกล้าพันธุ์จะใช้วิธีการหว่านเมล็ดในแปลงเพาะกล้าตามขนาดปริมาณที่ปลูก ด้วยการไถหน้าดินให้ลึก พร้อมกำจัดวัชพืช และหว่านกล้าพันธุ์ลงแปลง หลังจากนั้นจะให้น้ำ 1-2 ครั้ง/วัน จนกล้าแตกใบแท้ 2-5 ใบ ก็ย้ายลงปลูกในแปลง
การเตรียมแปลง
– การปลูกในแปลงขนาดใหญ่มีทั้งรูปแบบแปลงยกร่อง และแปลงที่ไม่ยกร่องโดยควรมีขนาดแปลงกว้าง ประมาณ1.5-2.5 เมตร ความยาวตามความเหมาะสมของพื้นที่
– ไถดะกลบวัชพืช และตากหน้าดินนาน 5-10 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดดิน
– ทำการหว่านปุ๋ยหมัก ปุ๋ยมูลสัตว์ ในอัตรา 500 กก./ไร่ ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตรา 10-30 กก./ไร่ หรือใช้ปุ๋ยคอกรองพื้นอย่างเดียว
– ทำการไถกลบอีกรอบ พร้อมกำจัดวัชพืช และตากดินประมาณ 1 สัปดาห์ หรืออาจน้อยกว่า
วิธีการปลูก
– ย้ายต้นกล้า โดยควรให้มีดินติดรากมาด้วย และควรปลูกทันทีเมื่อมีการถอนย้าย
– ระยะที่ปลูกในระหว่างแถว และหลุมปลูก ที่ 20-40 x 20-40 เซนติเมตร หากปลูกเพื่อการค้ามักปลูกในระยะถี่ขึ้น เช่น 20-30 x 20-30 เซนติเมตร
– หลังจากปลูกเสร็จให้รดน้ำให้ชุ่ม
การดูแล
– ให้น้ำหลังจากปลูกวันละ 1-2 ครั้ง หรืออาจให้วันเว้นวันเมื่อต้นกระเพราแตกกิ่งเป็นพุ่มใหญ่
– ให้ปุ๋ยคอก อัตรา 200 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตรา 30-50 กก./ไร่ หลังปลูกประมาณ 2-4 อาทิตย์ เมื่อต้นกล้าตั้งต้นได้แล้ว
การเก็บเกี่ยว
การเก็บกระเพราจะเริ่มเก็บได้หลังการปลูก 40-50 วัน และเก็บได้อย่างต่อเนื่องอีกหลายเดือน หากไม่มีการเก็บโดยการถอนทั้งต้น ซึ่งควรเก็บกิ่งแก่ในระยะก่อนออกดอกหรือเริ่มออกดอกซึ่งจะได้กระเพราที่มีกลิ่นหอมแรง



2. การปลูกในแปลงขนาดเล็ก
การปลูกในแปลงขนาดเล็กอาจใช้วิธีการยกร่องสูง 20-30 ซม. หรือไม่ยกร่อง ซึ่งเริ่มด้วยการพรวนดิน และกำจัดวัชพืชในแปลง และตากดิน 2-3 วัน
การปลูกด้วยต้นกล้า เนื่องจากเป็นการปลูกในปริมาณน้อยจึงเตรียมกล้าในแปลงบางส่วนที่เตรียมไว้หรือเตรียมในดินที่ว่างนอกแปลงแล้วจึงย้ายมาปลูกในแปลงในระยะ 30-40 ซม./ต้น หากปลูกเพื่อการค้ามักปลูกในระยะถี่ขึ้น เช่น 20-30 x 20-30 เซนติเมตร
การปลูกด้วยการหว่านที่มักปลูกเพื่อการค้า จะใช้วิธีหว่านเมล็ดลงแปลง โดยพยายามให้เมล็ดตกห่างกันให้มากที่สุด 20-30 ซม. พร้อมด้วยใช้คราดเกลี่ยดินกลบเล็กน้อย
การดูแลรักษาจะเหมือนกับการปลูกในแปลงใหญ่แต่อาจไม่พิถีพิถันมากก็ได้ และที่สำคัญควรกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอ
การเก็บกระเพราด้วยการปลูกเพื่อรับประทานเองจะไม่เก็บด้วยการถอนทั้งต้น แต่จะค่อยๆเก็บรับประทานเมื่อต้องการได้อย่างตลอดนาน 1-2 ปี หรือมากกว่านั้นขึ้นกับการดูแลรักษา




3. การปลูกในกระถาง
วิธีการนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีที่ดินหรือหาที่ว่างบริเวณบ้านปลูกไม่ได้ จึงใช้วิธีการปลูกในกระถางไว้เพื่อรับประทานเอง
– กระถางที่ใช้อาจเป็นกระถางดินเผาหรือวัสดุที่หาได้ง่าย
– ใช้ดินผสมกับมูลสัตว์หรือเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น แกลบ ขี้เถ้า ผสมในอัตราส่วนดินกับวัสดุผสม 2:1 หรือ 3:1
– การปลูกจะใช้วิธีการโรยเมล็ดในกระถาง 5-10 เมล็ด ขึ้นอยู่กับขนาดกระถาง พร้อมเกลี่ยดินกลบเล็กน้อย และรดน้ำหลังการปลูก
– ต้นกระเพราจะขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ และต้องคอยให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น