วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สุพรรณบุรี เปิดทริปการท่องเที่ยวเมืองโบราณอู่ทอง


     

           เที่ยวอู่ทอง เมืองทวารวดี ชมป่าในเมือง ไหว้พรขอพร กินอาหารพื้นบ้าน ชุมชนหลังตึกแถว



           วันที่  30  สิงหาคม  2557  ชาวตลาดอู่ทอง นำโดย นาย ประยูร อสัมภิรพงศ์ ประธาน  นายสมนึก ทองรักชาติ รองประธาน  นายสำเริง  คล้ายจินดา รองประธาน  นายนวพล บุตรเนตร รองประธาน  นายกิตติ์ธเนศ พุฒพีระวิทย์  ผู้ดำเนินการกำหนดเส้นทางการท่องเที่ยวครั้งนี้  เชิญชวนทุกท่าน เที่ยวอู่ทอง เมืองทวารวดี ชมป่าในเมือง ไหว้พรขอพร กินอาหารพื้นบ้าน ชุมชนหลังตึกแถว



            ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน เมืองโบราณทวารวดีอู่ทอง เปิดทริปการท่องเที่ยวในเมืองโบราณอู่ทอง เพื่อเตรียมความพร้อม รับนักท่องเที่ยวที่จะหลั่งไหลเข้ามาท่องเที่ยวชมความยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของเมืองอู่ทองในยุคทวารวดี โดยเล่าประวัติศาสตร์การย้อนอดีตความเป็นมา เป็นความภูมิใจของคนอู่ทอง มี่เมืองโบราณอู่ทองเป็นต้นกำเนิดของศาสนาพุทธ หลังจากเดือนกันยายน  2557 นี้ ทางชมรมฯจะมีการจัดทริปการท่องเที่ยวหลายแบบ มีทริปวันเดียว ,พักค้าง 1คืน ,และพักค้าง 2 คืน ไว้บริการนักท่องเที่ยว ชาวอู่ทองยินดีต้อนรับแขกผูมาร่วมรำลึกประวัติศาสตร์ของคนไทยด้วยกัน



              สำหรับโปรแกรมการท่องเที่ยว ในภาคเช้า เริ่มตั้งแต่เวลา 08.00 น. ที่ศาลเจ้าพ่อพระยาจักร ใจกลางตลาดอู่ทอง จะเป็นการไหว้พระขอพร เทวรูปเจ้าพ่อพระยาจักร ภายใน ศาลเจ้าพ่อพระยาจักร  เพื่อเป้นสิริมงคล  จากนั้น คณะจะนำท่าน สู่ “ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง ”   ร่วมย้อนรำลึก  “ เมืองโบราณอู่ทอง ”  ที่เป็นต้นกำเนิดประวัติศาสตร์และอารยธรรมแห่งสุวรรณภูมิ
 
เที่ยววัดเขาพระ  สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในเส้นทางลำดับต่อไปอยู่ที่ “วัดเขาพระศรีสรรเพชญาราม” หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “วัดเขาพระ   วัดเขาพระมีของดีหลากหลายให้เที่ยวชม (9 มหามงคล) ไม่ว่าจะเป็นรูปเคารพ “พระเจ้าอู่ทอง”, ”หลวงพ่อพระหยก” สีขาวสวยจากพม่า, “หลวงพ่อเปี้ยน-หลวงพ่อบุญ” รูปเคารพของ 2 เกจิชื่อดัง, “เจ้าพ่อจักรนารายณ์” รูปเคารพศักดิ์สิทธิ์ที่สันนิษฐานว่ามีความเชื่อมโยงกับเจ้าพ่อพระยาจักร


           
           ในภาคบ่าย พาชมวิถีชีวิตชาวบ้าน ลาวโซ่ง  ชาวไทยภูคัง ลาวครั่ง มนต์ขลังแห่ง “ ผี ” อวดวิถี “ จักรยานโบราณ ” ที่ บ้านโคก ท่านจะได้ดื่มด่ำ กับวิถีชุมชน ธรรมชาติ ที่หาชมได้ยาก

จักรยานโบราณ สิ่งอยากอวดของชาวบ้านโคก
               “ชาติพันธุ์ลาวครั่ง        งานหอฯกลางเดือนเจ็ด 
       อาชีพเกษตรกรรม                 วัฒนธรรมงานบวช
       สิ่งอยากอวดจักรยานโบราณ     แห่ธงสงกรานต์ยิ่งใหญ่” 
      
       นี่คือคำขวัญประจำหมู่บ้าน“โคก” หมู่บ้านชื่อสั้นๆที่หากใครได้ลองไปสัมผัสกับวิถีชุมชนที่นี่แบบไม่ฉาบฉวย ก็จะพบว่าบ้านโคกมีหลายสิ่งหลายอย่างน่าสนใจให้ชวนค้นหากันไม่น้อยเลย ..





 
  อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นหนึ่งในอำเภอสำคัญของเมืองไทย 
      
       ที่นี่มี“เมืองโบราณอู่ทอง” ที่เป็นต้นกำเนิดประวัติศาสตร์และอารยธรรมแห่งสุวรรณภูมิ อีกทั้งยังเป็นเมืองท่า เมืองศูนย์กลางการค้าของอาณาจักรทวารวดี รวมไปถึงเป็นจุดที่พระพุทธศาสนาเดินทางเข้าประดิษฐานเป็นแห่งแรกของเมืองไทย

      
       ด้วยความสำคัญในหลายด้าน ล่าสุดทางองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) สมาพันธ์สมาคมเครือข่ายท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สคท.) และเทศบาลตำบลท้าวอู่ทอง ได้ร่วมมือกันจัดโครงการ “ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ 5 ขุนเขา 1 ศาลเจ้า”(เส้นทางไหว้พระออมบุญ 5 ขุนเขา 1 ศาลเจ้าพ่อพระยาจักร) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมทัวร์ธรรมะกับแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม


เที่ยว “อู่ทอง” ท่องทริปธรรม...แดนดินถิ่นทวารวดี มีวัดแห่งแรกในเมืองไทย/ปิ่น บุตรี 

ศิลปวัตถุที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์อู่ทอง

       สำหรับใครที่อยากรู้จักกับเมืองโบราณอู่ทองอย่างละเอียด อยากรู้ว่าเมืองนี้มีความสำคัญอย่างไร ผมขอแนะนำให้ไปปูพื้นเมืองอู่ทองและอาณาจักทวารวดีกันที่ “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง” ที่จัดแสดงเรื่องราวของอารยธรรมทวารวดีและศิลปวัตถุสำคัญๆ มากมาย ด้วยเทคนิคการจัดแสดงสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปโบราณเก่าแก่ รูปปั้น เทวรูป ภาชนะ เครื่องใช้ เหรียญ เครื่องประดับ ตุ๊กตาดินเผาโบราณ รวมไปถึงธรรมจักรศิลาสมัยทวารวดีที่สมบูรณ์ที่สุดในเมืองไทย และ ฯลฯ
      
       พิพิธภัณฑ์แห่งนี้นับเป็นอีกหนึ่งพิพิธภัณฑ์น่าสนใจ และเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยงอันโดดเด่นของโครงการนี้ (รายละเอียดของพิพิธภัณฑ์ฯ อู่ทอง จะนำเสนอในโอกาสต่อไป)

เที่ยว “อู่ทอง” ท่องทริปธรรม...แดนดินถิ่นทวารวดี มีวัดแห่งแรกในเมืองไทย/ปิ่น บุตรี 

ภายในศาลเจ้าพ่อพระยาจักร

       ใกล้ๆ กับพิพิธภัณฑ์ฯ อู่ทอง เป็นจุดเริ่มแรกในทริปท่องธรรมของผมในครั้งนี้ นั่นก็คือ “ศาลเจ้าพ่อพระยาจักร” ที่ภายในประดิษฐาน “เจ้าพ่อพระยาจักร” สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองอู่ทอง
      
       เจ้าพ่อพระยาจักร เป็นเทวรูปสมัยทวารวดี มีลักษณะคล้ายรูปพระวิษณุแบบเก่าสวมหมวก มีบันทึกเล่าว่า ชาวอู่ทองในอดีตได้ค้นพบองค์เทวรูปเจ้าพ่อบริเวณริมแม่น้ำจระเข้สามพัน ชาวบ้านจึงได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนแท่นบูชา พร้อมทั้งก่อสร้างอาคารศาลเจ้าให้ในปี พ.ศ. 2400 ก่อนที่จะพัฒนาปรับปรุงมาเป็นศาลเจ้าอันสวยงามตั้งเด่นสง่าอยู่ใจกลางเมืองอู่ทองดังปัจจุบัน

เที่ยว “อู่ทอง” ท่องทริปธรรม...แดนดินถิ่นทวารวดี มีวัดแห่งแรกในเมืองไทย/ปิ่น บุตรี 

เทวรูปเจ้าพ่อพระยาจักร
       เจ้าพ่อพระยาจักร เป็นหนึ่งในศูนย์รวมจิตใจของชาวอู่ทอง มีเรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ ปาฏิหาริย์ของท่าน เล่าขานกันมามากมาย แต่ที่โดดเด่นที่สุดเห็นจะเป็นเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งใหญ่ที่ชาวอู่ทองประสบเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ส่งผลให้ร้านค้ารอบๆ ศาลเจ้าพ่อพระยาจักรถูกไฟไหม้วอดวาย แต่น่าแปลกที่ศาลเจ้าพ่อพระยาจักรกลับไม่ได้รับอันตรายใดๆจากเปลวไฟ เป็นที่อัศจรรย์ใจยิ่งนัก
      
       ด้วยกิตติศัพท์ความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อพระยาจักรทำให้แต่ละวันมีคนเดินทางมาบนบานศาลกล่าวท่านเป็นจำนวนมาก โดยมีความเชื่อว่าการไหว้เจ้าพ่อพระยาจักรจะช่วยให้แคล้วคลาด ปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง อีกทั้งยังทำให้อยู่เย็นเป็นสุข เสริมมงคลชีวิต 
       วัดเขาพระศรีสรรเพชญาราม

  
เที่ยว “อู่ทอง” ท่องทริปธรรม...แดนดินถิ่นทวารวดี มีวัดแห่งแรกในเมืองไทย/ปิ่น บุตรี 
วัดเขาพระ
       สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในเส้นทางลำดับต่อไปอยู่ที่ “วัดเขาพระศรีสรรเพชญาราม” หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “วัดเขาพระ
      
       วัดเขาพระมีของดีหลากหลายให้เที่ยวชม (9 มหามงคล) ไม่ว่าจะเป็นรูปเคารพ “พระเจ้าอู่ทอง”, ”หลวงพ่อพระหยก” สีขาวสวยจากพม่า, “หลวงพ่อเปี้ยน-หลวงพ่อบุญ” รูปเคารพของ 2 เกจิชื่อดัง, “เจ้าพ่อจักรนารายณ์” รูปเคารพศักดิ์สิทธิ์ที่สันนิษฐานว่ามีความเชื่อมโยงกับเจ้าพ่อพระยาจักร

เที่ยว “อู่ทอง” ท่องทริปธรรม...แดนดินถิ่นทวารวดี มีวัดแห่งแรกในเมืองไทย/ปิ่น บุตรี 

หลวงพ่อสังฆ์

       “รอยพระพุทธบาทจำลอง” ประดิษฐานอยู่ในมณฑปบนยอดเขา,“บ่อน้ำศักดิ์สิทธ์” ,“ถ้ำขุนแผน-นางพิม” กับตำนานความเชื่อจากวรรณคดีชื่อก้องเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน, “พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน” ที่ภายในจัดแสดงศิลปวัตถุ ข้าวของเครื่องใช้น่าสนใจมากหลาย และ “หลวงพ่อสังฆ์สรรเพชญ์” พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ที่สันนิษฐานว่าองค์ดั้งเดิมสร้างมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ก่อนจะมาบูรณะกันต่อๆ มาจนถึงปัจจุบัน
      
       หลวงพ่อสังฆ์สรรเพชญ์ หรือ หลวงพ่อสังฆ์ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองอู่ทองที่มีความเชื่อว่าใครได้มาสักการะ ท่านจะช่วยบำบัดรักษาโรคภัยที่เจ็บป่วย (ให้ปิดทององค์พระบริเวณที่เจ็บป่วย)



     เรือนลาวโซ่ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ได้จำลองเรือนลาวโซ่งจัดแสดงไว้ภายใน เรือนลาวโซ่งถือเป็นรูปแบบบ้านอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวไทยทรงดำ หรือลาวโซ่ง ชาติพันธุ์สำคัญชาติพันธุ์หนึ่งที่อาศัยอยู่ในอำเภออู่ทอง ไทยทรงดำ หรือ ลาวโซ่ง เป็นกลุ่มคนเชื้อสายไท มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศลาวและเวียดนาม

    ในสมัยธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กองทัพไทยได้ยกไปตีนครเวียงจันทน์และเมืองต่างๆ ในอาณาจักรล้านช้าง (ประเทศลาว) ได้กวาดต้อนผู้คน ครอบครัวชาวลาวต่างๆมาจำนวนมาก รวมทั้งชาวลาวโซ่งมายังอาณาจักรสยาม (ประเทศไทย) ชาวลาวโซ่งที่เข้ามาครั้งนั้นได้ตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ในเขตจังหวัด เพชรบุรี

     ต่อมาได้ย้ายถิ่นฐานที่อยู่ไปทำมาหากินในจังหวัดอื่นๆ รวมทั้งที่จังหวัดสุพรรณบุรีด้วย ในปัจจุบันชุมชนชาวไทยทรงดำในจังหวัดสุพรรณบุรีอาศัยอยู่ในเขตอำเภออู่ทอง อำเภอเมือง อำเภอสองพี่น้อง และอำเภอบางปลาม้า ชาวไทยทรงดำมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง พูดกันในกลุ่มเชื้อสายเดียวกัน มีเอกลักษณ์ทางการแต่งกายที่ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ คือ เครื่องแต่งกายสีดำที่ย้อมครามจนเข้มเป็นสีน้ำเงินดำ ชาวไทยทรงดำมีความเชื่อ การนับถือผี สิ่งที่เหนือธรรมชาติ และวิญญาณบรรพบุรุษ มีการประกอบพิธีกรรมที่เป็นแบบแผนมาจนปัจจุบัน เช่น พิธีเสนเฮือน หรือการไหว้ผีเรือน พิธีขึ้นบ้านใหม่ พิธีแต่งงาน และพิธีศพ ที่มีความคล้ายคลึงกับพิธีของคนจีนในบางประการ

      “ บ้านโคก ” ลาวครั่ง มนต์ขลังแห่ง “ ผี ” อวดวิถี “ จักรยานโบราณ ”



“บ้านโคก”ลาวครั่ง มนต์ขลังแห่ง“ผี” อวดวิถี“จักรยานโบราณ”/ปิ่น บุตรี 


จักรยานโบราณ สิ่งอยากอวดของชาวบ้านโคก
               “ชาติพันธุ์ลาวครั่ง        งานหอฯกลางเดือนเจ็ด 
       อาชีพเกษตรกรรม                 วัฒนธรรมงานบวช
       สิ่งอยากอวดจักรยานโบราณ     แห่ธงสงกรานต์ยิ่งใหญ่” 
      
       นี่คือคำขวัญประจำหมู่บ้าน“โคก” หมู่บ้านชื่อสั้นๆที่หากใครได้ลองไปสัมผัสกับวิถีชุมชนที่นี่แบบไม่ฉาบฉวย ก็จะพบว่าบ้านโคกมีหลายสิ่งหลายอย่างน่าสนใจให้ชวนค้นหากันไม่น้อยเลย

“บ้านโคก”ลาวครั่ง มนต์ขลังแห่ง“ผี” อวดวิถี“จักรยานโบราณ”/ปิ่น บุตรี 


ชาวบ้านโคกปัจจุบันสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง
       บ้านโคก ลาวครั่ง 
      
       หมู่บ้านโคก หรือ “บ้านโคก”(หมู่ 3) ตั้งอยู่ใน ต.อู่ทอง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ชาวบ้านโคกสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชาติพันธุ์ “ลาวครั่ง” ซึ่งพี่ “พนม หลวงประสาน” วิทยากรนำเที่ยวประจำหมู่บ้าน เล่าให้ผมฟังว่า
      
       ลาวครั่งคือชาวลาวที่มาจากแถบ “ภูคัง”(เทือกเขาแถบหลวงพระบาง)ในประเทศลาว (สปป.ลาว) จึงถูกเรียกว่า “ลาวภูคัง” ก่อนที่จะเพี้ยนเป็น “ลาวครั่ง” หรือบางทีก็เรียกว่า “ลาวเต่าเหลือง” เพราะนิสัยของชาวลาวพวกนี้ชอบอยู่เป็นอิสระตามป่าเขา คล้ายกับลักษณะของเต่าภูเขาชนิดหนึ่งที่มีกระดองสีเหลือง
      
       นอกจากนี้ลาวครั่งในสมัยก่อนยังถูกเรียกว่า “ลาวขี้ครั่ง” ซึ่งพี่พนมบอกว่า “ขี้ครั่งเป็นคำที่เขาใช้ด่ากัน” ก่อนจะเล่าย้อนอดีตให้ฟังว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 ชาวลาวกลุ่มใหญ่ได้ถูกกวาดต้อนเข้ามาในสยาม โดยกระจายตัวอยู่ในเขตภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคเหนือ ครั้นพอถึงในสมัยรัชกาลที่ 5 ชาวลาวครั้งที่อยู่ในนครปฐมได้อพยพขึ้นเหนือ มาตั้งรกรากอยู่ที่อำเภออู่ทองในปัจจุบัน เป็นชาวลาวครั่งแห่งบ้านโคกในทุกวันนี้

“บ้านโคก”ลาวครั่ง มนต์ขลังแห่ง“ผี” อวดวิถี“จักรยานโบราณ”/ปิ่น บุตรี 

วิถีเกษตรกรรมที่บ้านโคก
       ในการอพยพมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านโคกพี่พนมมีเกร็ดสนุกมาเล่าให้ฟังว่า ชาวลาวบรรพบุรุษได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่แถว “หนองตาสาม”(ชื่อในปัจจุบัน) เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก
      
       “เดิมหนองแห่งนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า “หนองปลาสาม” มาจากขนาดความใหญ่ของปลาที่แบ่งเป็น สามเกรด คือปลาหนึ่ง(ใหญ่น้อยที่สุด) ปลาสอง และปลาสามที่มีขนาดใหญ่ที่สุด นั่นเป็นสิ่งแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่แห่งนี้ ก่อนจะเพี้ยนมาเป็นหนองตาสามดังในปัจจุบัน”
“บ้านโคก”ลาวครั่ง มนต์ขลังแห่ง“ผี” อวดวิถี“จักรยานโบราณ”/ปิ่น บุตรี 


ชีวิตน้อยๆในท้องทุ่งที่บ้านโคก
       ส่วนที่มาของชื่อบ้านโคกนั้น มีข้อมูลในเอกสารจากหมู่บ้านระบุว่า เดิมที่นี่เป็นพื้นที่โคกป่าละเมาะ ที่มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งเสือ ช้าง เก้ง และ “กระต่าย” ที่มีอยู่มากที่สุด ชาวลาวครั่งที่อพยพมาอยู่จึงเรียกที่นี่ว่า “โคกขี้กระต่าย”
      
       แต่ภายหลังพื้นที่ป่าละเมาะได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นไร่นา โคกป่าละเมาะจึงกลายเป็นโคกห้างนา เนินเลี้ยงวัวควาย ชื่อโคกขี้กระต่าย จึงกลายมาเป็น “บ้านโคก” จนถึงทุกวันนี้
      
       สิ่งอยากอวดจักรยานโบราณ
      
       บ้านโคกเป็นชุมชนเกษตรที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำเกษตรปลูกพืชผักมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ที่นี่เป็นดังครัวของอำเภออู่ทอง เพราะเป็นแหล่งใหญ่ในการผลิตพืชผักส่งไปขายทั่วทั้งอำเภออู่ทองและพื้นที่ใกล้เคียง

“บ้านโคก”ลาวครั่ง มนต์ขลังแห่ง“ผี” อวดวิถี“จักรยานโบราณ”/ปิ่น บุตรี 


ผู้ใหญ่เงาะกับจักรยานโบราณ
      

          พี่“อำพร ลีสุขสาม” หรือ “ผู้ใหญ่เงาะ” ผู้ใหญ่หญิงแห่งบ้านโคกคนปัจจุบัน บอกว่าสมัยก่อนที่ยังมีรถยนต์ไม่มาก พาหนะหลักที่ชาวบ้านโคกใช้ในการสัญจรไป-มา บรรทุกผลผลิตทางการเกษตร ใช้ขนผัก ข้าว ก็คือ “จักรยาน
      
       “คนสมัยก่อนเขาใช้จักรยานบรรทุกสิ่งของกันได้ถึง 100 โล(กิโลกรัม)ก็ยังมี”
      
       ผู้ใหญ่เงาะ บอกกับผมพร้อมเล่าว่า สมัยก่อนจักรยานมีความผูกพันกับชาวบ้านโคก เป็น “วิถีจักรยาน” ที่ผูกพันกับชุมชน มาวันนี้แม้รถยนต์จะถูกใช้เป็นพาหนะหลัก แต่ชาวบ้านโคกส่วนหนึ่งก็ยังคงปั่นจักรยานกันอยู่ ที่สำคัญก็คือมีจักรยานส่วนหนึ่งที่ชาวบ้านโคกใช้เป็น “จักรยานโบราณ” หลายคันมีอายุร่วม 100 ปี

“บ้านโคก”ลาวครั่ง มนต์ขลังแห่ง“ผี” อวดวิถี“จักรยานโบราณ”/ปิ่น บุตรี 


สิ่งประดับบนจักรยานโบราณ
       “เราจึงมีการรวมกลุ่มจัดตั้ง “ชมรมจักรยานโบราณบ้านโคก”ขึ้น เดิมเป็นการรวมกลุ่มกันขี่เพื่อไปร่วมงานพิธีในชุมชน เช่น ร่วมขบวนแห่ธงสงกรานต์ 4 หมู่บ้าน(บ้านโคก บ้านหนองตาสาม บ้านท่าม้า และบ้านหนองเสือ” ขี่จักรยานไปร่วมงานสงกรานต์ และขี่ไปร่วมงานอื่นๆที่เจ้าภาพขอให้นำจักรยานไปสร้างสีสัน” ผู้ใหญ่เงาะเล่าให้ฟัง
      
       ด้วยเสน่ห์แห่งวิถีจักรยานผสานกับวิถีชีวิตวัฒนธรรมและวิถีการเกษตรอันโดดเด่นของบ้านโคก ทำให้ทาง “องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” หรือ อพท. เล็งเห็นในศักยภาพของชุมชนแห่งนี้ จึงเข้ามาเป็นพี่เลี้ยงส่งเสริมให้ชาวบ้านโคกจัดกิจกรรมท่องเที่ยวสัมผัสวิถีชุมชน เชื่อมโยงกับชุมชนที่มีศักยภาพที่อยู่ในละแวกใกล้เคียง สามารถทำกิจกรรมท่องเที่ยวเชื่อมโยงกันได้

“บ้านโคก”ลาวครั่ง มนต์ขลังแห่ง“ผี” อวดวิถี“จักรยานโบราณ”/ปิ่น บุตรี 

กิจกรรมปั่นจักรยานโบราณเที่ยวบ้านโคก
       นั่นจึงทำให้เกิดกิจกรรม “การท่องเที่ยวด้วยการปั่นจักรยานโบราณ” ขึ้นที่ชุมชนบ้านโคก ซึ่งวันนี้ยังเป็นโครงการในระดับนำร่องเพื่อให้ชุมชนได้เตรียมความพร้อม เรียนรู้ศึกษาข้อดีข้อเสีย ก่อนจะพัฒนาต่อยอดให้นักท่องเที่ยวมาร่วมทำกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมในอนาคตอันใกล้นี้
      
       มนต์ขลังหอเจ้านาย 
      
       ชาวบ้านโคกในวันนี้ยังคงมีการสืบทอดประเพณีวิถีวัฒนธรรมอันทรงคุณค่ามาจากลาวหลวงพระบาง อีกทั้งยังมีระบบความเชื่อที่น่าสนใจและน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพราะชาวบ้านโคกมีความเชื่อความศรัทธาทั้งในทางพระพุทธศาสนาและในเรื่องของอำนาจเหนือธรรมชาติหรือที่เรียกกันว่า “ผี
      
       พี่พนมอธิบายว่า ชาวบ้านโคกนับถือผีใน 2 แบบด้วยกันคือ ผีเทวดาและผีเจ้านาย
      
       ผีเทวดาคือรุกขเทวดาที่เคยคุ้มครองบ้านเมืองตั้งแต่สมัยอยู่หลวงพระบาง

“บ้านโคก”ลาวครั่ง มนต์ขลังแห่ง“ผี” อวดวิถี“จักรยานโบราณ”/ปิ่น บุตรี 

บรรยากาศขรึมขลังที่หอเจ้านาย
       ส่วนผีเจ้านายตามความเชื่อของชาวบ้านโคกนั้น คือผีบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ ซึ่งพี่พนมย้ำว่าเป็น “ผีดี” ที่มาคอยช่วยปกปักรักษาหมู่บ้านและชาวบ้าน โดยมี “พ่อกวน”(กวน) ทำหน้าที่เป็นผู้เชื่อมต่อทางจิตวิญาณกับผีเจ้านาย รวมถึงเป็นผู้นำทางความเชื่อและเป็นหัวหน้าในการประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับผีเจ้านายซึ่งมีที่สถิตอยู่ที่ “หอเจ้านาย” สถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำคัญประจำหมู่บ้าน
      
       หอเจ้านาย มีลักษณะเป็นลานโล่งที่ด้านหน้า ส่วนด้านท้ายมีต้นไม้ใหญ่ตั้งตระหง่าน ถัดไปเป็นศาลเพียงตาขนาดย่อมจำนวน 7 หลังตั้งเรียงกันไปแบบแถวหน้ากระดาน นับเป็นบรรยากาศที่ดูแล้วช่างขรึมขลังยิ่งนัก
      
       “หอเจ้านายเป็นดังหลักเมือง ใจเมือง ศูนย์รวมจิตใจและที่ยึดเหนี่ยวของชาวบ้านโคก สมัยก่อนพอถึงฤดูทำไร่นา ชาวบ้านก็จะมาขอผีเจ้านายให้ทำการเพาะปลูกได้ดี ลูกหลานใครเจ็บไข้ได้ป่วย พ่อ-แม่ก็จะมาขอให้ผีเจ้านายช่วยรักษาพร้อมบนบานศาลกล่าว ซึ่งพ่อกวนเมื่อทราบอาการก็จะอ้างอิงการรักษาจากตำราใบลาน”
“บ้านโคก”ลาวครั่ง มนต์ขลังแห่ง“ผี” อวดวิถี“จักรยานโบราณ”/ปิ่น บุตรี 

หอเจ้านายศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านโคก
       พี่พนมเล่าก่อนให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า หอเจ้านายบ้านโคกยังมีลักษณะพิเศษตรงที่เป็นดังสิ่งคุมความประพฤติ สิ่งกำกับการกระทำและจิตใจของคนในหมู่บ้านให้ทำแต่ความดี ใครที่ทำไม่ดี ผิดจารีต ผิดวิถี หรือที่เรียกว่า “ผิดผี” ต้องมาสารภาพต่อเจ้าพ่อกวน พร้อมแก้บนขอขมา ซึ่งเจ้าพ่อกวนจะเป็นคนตัดสินว่าต้องขอขมาแก้บนอย่างไร
      
       “ทุกๆปีที่บ้านโคกจะมีการจัดงานเลี้ยงผีขึ้นในช่วงราวเดือน 7 ไทย(ราวมิถุนายน) มีการจัดงานกัน 2 วัน คือวันสุกดิบและวันงานจริง โดยพ่อกวนจะเป็นผู้กำหนดวันเวลาที่แน่นอนในช่วงใกล้ก่อนวันงาน” พี่พนมกล่าว

“บ้านโคก”ลาวครั่ง มนต์ขลังแห่ง“ผี” อวดวิถี“จักรยานโบราณ”/ปิ่น บุตรี 

ชาวคณะนักปั่นพร้อมลุย
       ด้วยความสำคัญตามที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้หอเจ้านายถูกยกให้เป็นไฮไลท์สำคัญในเส้นทางปั่นจักรยานโบราณเที่ยวบ้านโคก ทั้งนี้ก็เพื่อให้คนภายนอกได้รับรู้ถึงวิถีจารีตของชาวบ้านทีนี่ และให้คนภายในพื้นที่ได้ร่วมกันอนุรักษ์วิถีเหล่านี้ไว้
      
       ปั่นจักรยานโบราณไปไหว้ผี 
      
       กิจกรรมนำร่องท่องเที่ยวด้วยการขี่จักรยานโบราณทัวร์บ้านโคกนั้นมีระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นการปั่นชมวิถีชาวบ้าน ชมไร่นา แปลงผักปลอดสารพิษ และไฮไลท์คือการไหว้ผีที่หอเจ้านาย
“บ้านโคก”ลาวครั่ง มนต์ขลังแห่ง“ผี” อวดวิถี“จักรยานโบราณ”/ปิ่น บุตรี 

จุดพักที่บ้านเก่า 3 หลัง
       สำหรับจักรยานโบราณที่นี้แม้มันจะมีคันโต สูง ดูเหมือนจะปั่นยาก แต่อันที่จริงปั่นไม่ยาก(จะมียากบ้างสำหรับคนไม่เคยในช่วงขึ้น-ลง เพราะมันสูง) แถมยังปั่นสบายไม่กินแรง เพราะช่วงเท้าถีบมันพอดีกับจังหวะก้าวเดินของเรา
      
       เมื่อสมาชิกนักปั่นที่นัดไว้มากันพร้อมตา ผู้ใหญ่เงาะก็ออกปั่นนำ โดยจุดแรกที่พวกเราไปแวะก็คือ “บ้านเก่า 3 หลัง” ซึ่งเป็นบ้านเรือนไม้หลังใหญ่อายุหลายสิบปี (หรืออาจถึง 100 ปี) จำนวน 3 หลังสร้างอยู่ใกล้ๆกันด้วยรูปแบบบ้านดั้งเดิมของชาวชุมชนบ้านโคก
“บ้านโคก”ลาวครั่ง มนต์ขลังแห่ง“ผี” อวดวิถี“จักรยานโบราณ”/ปิ่น บุตรี 


ปั่นสัมผัสวิถีท้องทุ่ง
      
        จากนั้นเราปั่นไปต่อยังจุดไฮไลท์คือที่หอเจ้านาย เพื่อทำการสักการะผีเจ้านายเพื่อความเป็นสิริมงคล พร้อมฟังเรื่องเล่าเกี่ยวกับหอเจ้านายและการนับถือผีของชาวบ้านโคก ที่มีพี่พนมเป็นคนถ่ายทอดข้อมูลดังที่ผมได้กล่าวมาข้างต้น
      
       เสร็จแล้วผู้ใหญ่พาปั่นชิลล์ ชิลล์ ไปชมบรรยากาศท้องไร่ท้องนา ชมแปลงผักปลอดสารพิษของชาวบ้าน ซึ่งระหว่างนี้มีกลุ่มเด็กๆในหมู่บ้านเมื่อรู้ข่าวก็ได้ออกมาแจมปั่นจักรยานร่วมขบวนไปด้วยกันเกิดเป็นคณะใหญ่ดูครึกครื้น
      
       ขบวนจักรยานโบราณไปจอดอีกครั้งริมท้องทุ่งนาวิวดี เพื่อหยุดแวะเติมพลังกันด้วยอาหารที่ทางชาวบ้านจัดเตรียมมานั่นก็คือ “ข้าวเหนียวหัวหงอก”ที่เป็นข้าวเหนียวคลุกมะพร้าวใส่เกลือนิดหน่อย รสกลมกล่อมเค็มๆมันๆ กับ “ข้าวเหนียวปลาทอด” ที่ใครไม่รู้ทอดปลาได้เด็ดนัก ชาวคณะที่ร่วมปั่นต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า อร่อยจริงๆ

“บ้านโคก”ลาวครั่ง มนต์ขลังแห่ง“ผี” อวดวิถี“จักรยานโบราณ”/ปิ่น บุตรี 
ข้าวเหนียวปลาทอด รสยอดเยี่ยม
       หลังเตรียมพลังข้าวเหนียวแล้วก็ได้เวลาปั่นกลับมายังจุดเริ่มต้นที่บ้านผู้ใหญ่ ก่อนที่แต่ละคนจะแยกย้ายกลับบ้านใครบ้านมัน
      
       และนี่ก็คือกิจกรรมนำร่องท่องเที่ยวบ้านโคกด้วยจักรยานโบราณ ซึ่งขบวนสมาชิกนักปั่นในวันนั้น หลายๆแม้คนดูจะโบราณไม่ต่างจากจักรยานสักเท่าไหร่ แต่คุณลุงคุณป้าที่ใจดีเหล่านั้นต่างมีความมุ่งมั่น มีใจให้เหลือเฟือ
      
       ที่สำคัญคือทุกคนยังดูแข็งแรงเปี่ยมกำลังวังชา ซึ่งนั่นคงเนื่องมาจากผลพวงแห่งวิถีจักรยานแห่งบ้านโคก เพราะการปั่นจักรยานอย่างสม่ำเสมอนั้น ช่วยให้เรามีสุขภาพดีมีอายุยืนยาวได้โดยไม่ต้องไปสรรหายาวิเศษใดๆมากิน 

“บ้านโคก”ลาวครั่ง มนต์ขลังแห่ง“ผี” อวดวิถี“จักรยานโบราณ”/ปิ่น บุตรี 

คณะนักปั่นต่างวัย

       *****************************************
      
       ปัจจุบันชาวบ้านโคกยังมีการรวมกลุ่มปั่นจักรยานกันอยู่เป็นประจำ พร้อมกันนี้ยังมีโครงการนำร่องกับกิจกรรมปั่นจักรยานโบราณท่องเที่ยวในหมู่บ้านและเชื่อมโยงกับหมู่บ้านอื่น ซึ่งผู้สนใจอยากร่วมปั่นกับชาวบ้านโคกสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ ผู้ใหญ่เงาะ 084-457-7271 หรือ ที่อพท. 084-163-7599

             

 เกรียงไกร  ก่อเกียรติตระกูล  บรรณาธิการข่าวท้องถิ่น  อู่ทองนิวส์  ข่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น